ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของการปฏิบัติต่อกฎและเป้าหมาย

                        
                                           

ความแตกต่างของการปฏิบัติต่อกฎและเป้าหมาย


นักกฎหมายส่วนใหญ่
จะให้ความสำคัญกับกฎ(ข้อบังคับ)มากกว่าเป้าหมายของกฎ
ซึ่งก็คือ...ความยุติธรรม

นักปกครองส่วนใหญ่
จะให้ความสำคัญกับเป้าหมายมากกว่ากฎ
นั่นคือ....เป้าหมายตามนโยบายของผู้กุมอำนาจรัฐ

แต่ศาสนาจะให้ความสำคัญกับทั้งกฎ(ข้อบังคับ)และเป้าหมาย เท่าๆกัน
เพราะกฎของศาสนา เป็นหนทาง เป็นแนวประพฤติปฏิบัติเพื่อไปสู่การบรรลุเป้าหมาย
จึงสำคัญเท่ากัน ขาดกันไม่ได้

นักกฎหมายอ้างอิงกฎหมายของรัฐ
นักปกครองอ้างอิงนโยบายของผู้กุมอำนาจรัฐ
แต่ศาสนา อ้างอิงกฎและนโยบายของธรรมชาติ
ซึ่งยิ่งใหญ่กว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น

ย่อมเป็นที่คุ้นเคย ในการศึกษาความอยุติธรรมของกฎหมายและนโยบายที่ออกโดยมนุษย์
ซึ่งมีการกำหนด การเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน
ไปตามลัทธิปรัชญาการปกครอง และผู้กุมอำนาจรัฐในแต่ละยุคแต่ละสมัย

แต่กฎและนโยบายของธรรมชาตินั้น
ยุติธรรมเสมอ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สถานที่ หรือตัวบุคคล
กฎและนโยบายของธรรมชาติเป็นอมตะ มั่นคง เที่ยงธรรม แน่นอน ไร้อคติความลำเอียง
หรือเลือกปฎิบัติ เหมือนอย่างของมนุษย์

นักหมายและนักปกครอง
ต่างเคารพกฎหมายของรัฐ และอำนาจของผู้กุมอำนาจรัฐ

ศาสนาเคารพกฎและอำนาจของธรรมชาติ
แต่ก็ไม่ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ และยอมรับในอำนาจของผู้กุมอำนาจรัฐ
โดยไม่จำต้องให้ความเคารพ ฯ

๒ กันยายน ๒๕๕๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น