ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฌาน : สุขสุดยอดทางกายที่คนจะมีได้




ฌาน : สุขสุดยอดทางกายที่คนจะมีได้

ผมคิดอยู่นานนับเดือน ว่าควรลงเรื่องนี้หรือไม่?
เพราะอาจทำให้บางคนคิดว่า"อยากเด่น อยากดัง"
แต่มาคิดได้ว่า เมื่อเราปฏิบัติตามธรรมวินัยจนประสบผลดี
ก็ควรเผยแผ่ให้คนอื่นได้รู้ว่าคำสอนของพระพุทธองค์นั้น
ปฏิบัติได้จริง เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องหลอกลวง
เป็นสิ่งที่คนทำได้ในสมัยนี้ ไม่ใช่แต่สมัยพุทธกาล
เป็นประโยชน์ เป็นขุมทรัพย์ เป็นความมหัศจรรย์ของพุทธศาสนา

สุขสุดยอด...ทางกายนี้
เป็นสุขยิ่งกว่าความสุขทางกายใดๆที่คนจะมีได้
จุดสุดยอดทางเพศ ที่คนมากมายทั่วโลกหมกมุ่นกัน
เมื่อเทียบกับสุขสุดยอดนี้
ไม่ต่างจากแสงหิ่งห้อยกับ แสงอาทิตย์

 สุขสุดยอดนี้คือ สุขขณะบรรลุฌาน จากการนั่งสมาธิ
(ฌาน ๔ ไม่มีความสุข มีแต่อุเบกขาป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์)
ผมประสบด้วยตัวเอง เมื่อครั้งบวชเป็นพระ

ฌาน เป็น "อุตริมนุสธรรม หรือ อุตริมนุษยธรรม 
แปลว่า ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง 
ได้แก่ คุณวิเศษซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถมีหรือเป็นได้ มิใช่วิสัยของมนุษย์ทั่วไป 
แต่เป็นวิสัยของผู้บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว

ขอเผยแผ่เคล็ดวิธีที่จะไปให้ถึงฌาน ๔
เพื่ออุทิศแด่พระพุทธองค์
และอริยะสงฆ์ที่ทำให้องค์ความรู้นี้ยังคงอยู่
เป็นวิธีที่ผมปรับใช้จากการอ่านพระไตรปิฎกล้วนๆ
แล้วใช้ปฏิภาณส่วนตัวเพียรปฏิบัติเอง ลองผิดลองถูกเอง ไม่มีใครสอน
เพราะเคยอ่าน-ศึกษาจากคำสอนของเกจิดังๆหลายท่านแล้ว ไม่ได้สาระ
(เหมือนลอก อรรถกถา-คัมภีร์วิสุทธิมรรคมา
บางคนก็แค่ความหลงผิด-จินตนาการเอาเอง-หลอกลวงก็มี)

วิธีของผมเริ่มต้นจาก
. ในชีวิตประจำวัน 
    ต้องไม่คิด-ไม่จำ-ไม่ทำ-ไม่พูด สิ่งที่เป็นอกุศล
. อินทรีย์สังวร
.กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก(คุมให้อุปธิไม่ให้กำเริบ)
   อยู่วัดป่าในชนบทห่างไกลเสียงดังรบกวน ไม่วุ่นวายด้วยคน-สัตว์ 
   มีอิสระในการปฏิบัติธรรม สงบเงียบ
   อยู่กุฏิไกลคน ไกลถนน ไร้คน-สัตว์เพ่นพ่าน
   ไม่พบ ไม่พูด ไม่คุย กับใครโดยไม่จำเป็น
   ไม่คลุกคลีกับหมู่ชน
   ไม่รับข่าวสารภายนอก การบ้าน การเมือง เศรษฐกิจ 
   ไม่ทำกิจกรรมอื่นๆที่ต้องใช้ความคิดความเคร่งเครียด-เหน็ดเหนื่อย ฯลฯ
.นอกจากการดูแลสังขาร-กิจของพระ
   ผมจะนั่งสมาธิ เดินจงกลม อ่านพระไตรปิฎกเท่านั้น
   ถ้าเมื่อยก็พัก ง่วงก็หลับ หายง่วงเริ่มทำต่อ อย่างพากเพียร-อดทน
   ทำสมาธิโดยไม่กำหนดเวลา กลางวัน กลางคืน ฝนตก แดดออก หนาว ร้อนฯลฯ
.ทำอานาปานสติ ตามที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระไตรปิฎก
   (มีคำสอนปรากฎหลายแห่ง-หลายสูตร 
   ในเน็ตก็หาอ่านได้จากเว็บ http://www.84000.org/
   Google Search ค้นหาคำว่า อานาปานสติสูตร
   ขอเตือนว่า อย่าทำตามวิธีแนะนำสั่งสอนทีปรากฎในเพจอื่นๆ ที่อ้างคำสอนของเกจิอาจารย์สารพัด
   เพราะผมอ่านแล้ว รู้เลยว่าคนพวกนี้ไม่เคยได้เฉียดฌาน ๑ เสียด้วยซ้ำ)

.แม้ออกจากการทำสมาธิ    ก็ต้องรักษาอารมณ์สงบจากการทำสมาธิตลอดเวลา ทุกอิริยาบท
   ผมทำอย่างนี้ประมาณ  เดือนเศษ
   ก็บรรลุถึงฌาน ได้ (เคยได้ไม่กี่ครั้ง ยังควบคุมไม่ได้ ไม่เชี่ยวชาญ)

.ปิติในฌาน ขอเปรียบว่า
   ดีกว่าถูกล็อตเตอร์รี่ รางวัลที่๑
   สุขในฌาน เป็นสุดยอดสุขทางกายในชีวิต ที่คนๆหนึ่งจะมีได้
   
สุขที่สุดกว่าสุขทั้งหลายที่กายจะรับรู้ เป็นสุขล้วนๆ
   (สุขทางใจที่สุดยอด คือ สันติ ความสงบ)
   อุเบกขาในฌาน
   ถ้าขณะนั้นมีคนถือดาบ ตรงเข้ามาฟันคอผมๆก็ไม่หวั่นไหว
   เป็นอุเบกขาที่ บริสุทธิ์-หนักแน่น-มั่นคงมากที่สุด


ขอเรียนให้ทราบก่อนว่า ในพระไตรปิฎกบางแห่ง
พระพุทธเจ้ากล่าวถึงฌานว่าเป็น ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขของพระ "
ฌาณ เป็น ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส " ได้ชั่วคราว
เพราะการจะได้ฌาน ต้องทำจิตให้ปราศจากนิวรณ์ ๕ - ปราศจากกิเลส 
แต่ก็อยู่ในเส้นทางของพุทธเทศนา ที่นำไปสู่การสิ้้นอาสวะได้อย่างถาวร

แต่ได้ฌานแล้วอาจติดอกติดใจ เกิดกิเลสได้
จึงต้องรู้เท่าทัน
มิฉะนั้น แทนที่จะเป็น สัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นหนทางพ้นทุกข์
กลับจะกลายเป็น มิจฉาสมาธิ ซึ่งเป็นหนทางเพิ่มตัณหา-อุปาทาน แทน

ขอเชิญชวนท่านทั้งหลายที่สนใจ ลองทำดู

(หลังจากลาสิกขาบท ออกมาประกอบสัมมาอาชีพแล้ว
การทำอานาปานสติของผม ไม่ประสบความสำเร็จเลย
เพราะกิจกรรมในชีวิตฆราวาส ในสังคมไทยปัจจุบันมันวุ่นวาย-มีปัญหามาก
ต้องทุ่มเทพละกำลัง-ความสามารถ-สติปัญญา-เวลาสุดๆ
ทำได้เพียงรักษากุศลจิต ละเว้นการทำบาป เพียรสร้างกุศลกรรม)


***อาการ-ความรู้สึกของร่างกาย ขณะได้ ฌาน ๔ +อภิญญาญาณอื่นๆ(ยาวมาก)
[๓๔๓] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญฌานสี่. ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงาน สรงสนาน ผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุรณสิ ตัวนั้นซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกาย นี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง....(มีต่อ)
*พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
 
รูปฌาน ๔
[๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด
จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งยาง
ซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้
ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ. 
จาก <http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=9&item=127&items=5>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น