ดอกไม้ ในวรรณคดีไทย : อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
( ผิดหลักฉันทลักษณ์ เพราะศัพท์-ชื่อ เฉพาะดอกไม้ในวรรณคดีไทย ต้องขออภัยที่ไร้ความสามารถ แต่ฝืนแต่ง )
๏ สิ่งสรรพ ประดับหล้า.........................บุษบา ประโลมสุนทร์
รูปงาม อร่ามบุญ.............................สุวคันธ์ นิรันดร
๏ ซ่อนกลิ่น สิกลิ่นหอม.......................และ พะยอม บ่ยอมหย่อน
วาสนา วิภาพร...............................ขจิตหล้า คละราตรี
๏ พราวพรรณ กรรณิการ์.....................สวภา
ผะผ่องศรี
บุปผา ราชินี...................................สิริด้วย
ก็ กล้วยไม้
๏ กลิ่นอ่อน ขจรจล.............................สลิด คน ก็เรียกใช้
เกด แก้ว ผิแพรวไพร......................กฤษณา
กุหลาบ ยิน
๏ กระถิน ณรงค์ พวง-.......................ชมพู ล่วง มิสู้กลิ่น
เข็ม ชบา
และขมิ้น(ชัน).................มละสิ้น
สุภิญโญ
๏ ชงโค โสนศรี..................................มะลุลี มะลิ ยี่โถ
รำพึง รำเพย โพ...........................พุทธชาด สะอาดตา
๏ ลีลา วดีดม......................................บุรพ์ลั่นทม นิยมมา
ดาวเรือง ประเทือง
สา-...................ธร โมก อโศก รัก
๏ สายหยุด บ่หยุดยล...........................นิลุบล วิมลนัก
จำปี จำปา สัก...............................ปทุมา มะลิวัลย์
๏ ชมมะนาด และ คัดเค้า.....................พุด กันเกรา และ อัญชัญ
บุญนาค กระเจียว
จัน.....................มณฑา สุมาลี
๏ ราชพฤกษ์ กัลป์พฤกษ์.....................ชยพฤกษ์ ระลึกศรี
บุหงา สารภี...................................นนทรี
และ ลำดวน ฯลฯ
๏ ผลัดกัน ประชันสม..............................จะนิยม ผิชมสวน
ชมนาง สะอางนวล..........................ประจำวรรณ คดีไทย ฯ
๒๔ กันยายน ๒๕๕๔
ชอบมากจริงๆ ค่ะ คุณเป็นเสมือนครูทำให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้นในร้อยกรองที่แต่งยากขึ้น เพราะไม่ค่อยเห็นบ่อยๆ เช่น อินทรวงศ์ฉันท์ ขอบคุณมากค่ะที่รจนาร้อยกรองที่สวยงามให้อ่านและมีสาระมากด้วยค่ะ
ตอบลบขอบคุณที่อ่าน ชอบ และมอบคำชื่นชมครับ
ลบผมไม่ได้มีความรู้หรือเชี่ยวชาญอะไร แค่อุตสาหพยายาม ครับ
แต่งกลอนเกียวกับกุหลาบไห้หนูหน่อยค่ะ
ตอบลบที่นี่
ลบกลอนดอกกุหลาบมีหลายบท
ค้นหาเอาเอง
ช่วยแนะนำการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ดอกจำปีหน่อยค่ะ☺
ตอบลบการแต่งบทกวี สำคัญคือ ต้องรู้ศัพท์
ลบโดยเฉพาะ ฉันท์ ต้องรู้ศัพท์ ครุ-ลหุ
อินทรวิเชียรฉันท์ แต่งไม่ยาก เพราะตำแหน่งของ ลหุ มีไม่มาก
ลองศึกษาบทความเรื่อง
หัดแต่ง " ฉันท์ " กันง่ายๆ(บันทึกไว้วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)
avijjapikkhu.blogspot.com/2011/11/blog-post_47