ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หัดแต่ง " ฉันท์ " กันง่ายๆ

                                                                             Flickr 

หัดแต่ง ฉันท์ กันง่ายๆ

น่าจะเคยได้ยินคำว่า กาพย์กลอนโคลงฉันท์
ซึ่งอันที่จริง ถ้อยคำดังกล่าวข้างต้น เปรียบได้กับการลำดับความง่ายไปหายากของบทร้อยกรองของไทย
การจะหัดแต่งฉันท์ให้ง่าย ต้องผ่านการหัดแต่งบทร้อยกรองอื่นๆมาก่อน จนชำนาญ จึงจะบังเกิดผล
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีคลังศัพท์ คำคล้าย,คำเหมือน,คำไวพจน์ เก็บไว้ จะทำให้แต่งบทประพันธ์ได้สะดวกขึ้น

ฉันท์ 
เป็นการประพันธ์ ฉันทลักษณ์ 
ที่มีการกำหนดจังหวะของพยางค์เสียงหนัก(ครุ) - เสียงเบา(ลหุ) เป็นกฎลักษณะเด่น
ฉันท์ มีที่มาจากประเทศอินเดีย ของเดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต 
โดยเฉพาะในภาษาบาลี มีตำราที่กล่าวถึง วิธีแต่งฉันท์ไว้ เป็น ๑๐๘ แบบ
เรียกชื่อว่า "คัมภีร์วุตโตทัย" 
(แต่ที่คนไทยคุ้นเคยน่าจะเป็นบทสวดมนตร์ของศาสนาพุทธ)

ไทยเราเอามาใช้ไม่หมด เลือกเอามาแต่เฉพาะแบบที่เห็นว่าไพเราะ
อ่านแล้วมีทำนองอันสละสลวย และเหมาะแก่การที่จะบรรจุคำในภาษาไทยได้ดี เท่านั้น 
ไทยเราได้เลียนแบบโดยเพิ่มเติม บังคับสัมผัสระหว่างวรรค เพื่อให้เกิดความไพเราะตามแบบนิยมของไทย ซึ่งไม่มีในภาษาเดิม

ครุ คือพยางค์ที่มีเสียงหนัก
ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
และ สระเกินทั้ง  คือ สระ อำ ใอ ไอ เอา
และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่นตา ดำ หัด เรียน ฯลฯ
ลหุ คือพยางค์ที่มีเสียงเบา
ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วย สระสั้น(รัสสระที่ไม่มีตัวสะกด เช่น พระ จะ มิ ดุ แกะ ฯลฯ
 คำ  ก็ดี คำที่ประสมด้วย สระอำ ในแม่  กา ก็ดี ใช้เป็นลหุได้
ในอดีต คำที่ประสมด้วยสระอำ เรายังใช้เป็นคำ ลหุ 
แต่ปัจจุบันไม่ใคร่นิยมใช้เป็นคำลหุ เพราะถือว่า เป็นเสียงที่มีตัวสะกดแฝงอยู่ด้วย

*ความเข้มงวดในฉันทลักษณ์ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยนิยม กวี และผู้เขียนตำรา ...ไม่มีความตายตัว 

ในบทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของไทยแต่อดีต นิยมแต่งไม่กี่แบบ อันได้แก่

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
โตฏกฉันท์๑๒
วสันตดิลกฉันท์๑๔
มาลินีฉันท์ ๑๕
สัททลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
สัทธราฉันท์ ๒๑
วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
มาณวกฉันท์ ๘
ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
        ฯลฯ

การหัดแต่งฉันท์ ควรเริ่มจากแบบง่ายๆ ไปหายาก
โดยมีฉันท์ ที่เป็นแบบพื้นฐานไม่มากแบบ
หากแต่งจนคุ้นเคย สามารถปรับไปแต่งฉันท์อื่นๆได้ง่ายๆ

การหัดแต่ง
ขอแนะนำให้เริ่มต้นไปตามลำดับ  ดังจะกล่าวต่อไปนี้

.วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
.สาลินีฉันท์ ๑๑
.ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
.อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
.อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ 
.วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
.อีทิสังค์ฉันท์ ๒๐

วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ แต่งคล้าย กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒/กาพย์สุรางคนางค์๒๘
สาลินีฉันท์ ๑๑ , อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แต่งคล้าย กาพย์ยานี ๑๑
อินทวงศ์ฉันท์ ๑๒ แต่งคล้าย อินทรวิเชียรฉัท์ ๑๑
ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ แต่งคล้ายกลอนหก


การปูพื้นฐานเพียงเท่านี้ ก็พอแก่การปรับตัวไปสู่การแต่งฉันท์ทั้งหมดได้ ที่เหลือก็คือ หมั่นสร้างประสบการณ์

ความยากของการแต่งฉันท์คือ การรู้ศัพท์ที่เป็นรูป ครุ , ลหุ 
จำเป็นจะต้องรู้จักศัพท์ประเภท คำคล้าย,คำเหมือน,คำไวพจน์ ไว้มากๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นศัพท์บาลี-สันสกฤต ที่ภาษาไทยนำมาใช้
(ผู้เขียนใช้วิธีอ่านพจนานุกรม แล้วจดบันทึกไว้เป็นคำๆ ทำแบบง่ายๆไว้ดูเอง-ไม่ได้มาตรฐาน จึงไม่อยากเผยแพร่)
หากไม่จดบันทึก-ท่องจำไว้ ก็ค้นหาในอินเทอร์เน็ตได้
ข้อจำกัดของศัพท์ ทำให้การแต่งฉันทให้ได้เนื้อหาตามต้องการเป็นเรื่องยาก-ใช้เวลานาน
คนแต่งจึงไม่อยากแต่ง
ความที่มีคำ ลหุ + ศัพท์บาลี-สันสกฤต ทำให้ฉันท์ส่วนใหญ่อ่านยาก-เข้าใจยาก

คนอ่านจึงไม่อยากอ่าน

* บทความที่เกี่ยวข้อง


วิธีแต่งกลอนให้เก่ง....ไพเราะ 

ฉันทลักษณ์-ตัวอย่าง

วิชชุมาลาฉันท์ ๘ 



สาลินีฉันท์ ๑๑
 

 ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
 

 อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
 

( คำภาษาบาลี อย่าสนใจ เพราะแต่งแบบบาลี ไม่มีสัมผัสใน - สัมผัสนอก )

อินทวงสฉันท์ ๑๒
 

วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
 

อีทิสฉันท์ ๒๐
 

ภาพประกอบ จาก  <http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/chan/index.html#20etis>
*ในเว็ปข้างบน มีบางฉันท์ ที่สร้างแผนผังผิดหลักฉันทลักษณ์
เมื่อเข้าไปค้นหา ขอให้เปรียบเทียบ กับ ฉันท์ตัวอย่างด้วย

๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

2 ความคิดเห็น:

  1. อาตมาเรียนสายบาลีล้วนๆและอยากจะเป็นตัวอย่างเรื่องรักภาษาไทยทั้งพูด อ่าน เขียนให้เก่งๆครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ยินดีที่ท่านมาร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

      คำ ครุ-ลหุ เป็นหลักของภาษาบาลี-สันสกฤต
      คนที่เรียนมาจึงแต่งฉันท์ได้ง่ายกว่าครับ
      แต่ บาลี-สันสกฤต เป็นวิชาที่เรียนยาก อาศัยการท่องจำเป็นหลัก
      สำหรับคนทั่วไป หากคิดจะเรียนเพียงเพื่อแต่งฉันท์ ก็ดูจะเป็นความพยายามที่เกินความจำเป็น
      เพราะหาศัพท์ในพจนานุกรมไทยก็เพียงพอแล้ว

      อีกทั้งการเลือกเอาศัพท์ บาลี-สันสกฤต มาแต่ง
      บทกวีที่ได้อาจไม่ใช่บทกวีไทย
      แต่จะกลายเป็นบทกวี บาลี-สันสกฤต ไป

      ลบ