ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อิสระ ของกวี มีค่ากว่าฉันทลักษณ์ : กาพย์ยานี ๑๑



อิสระ ของกวี มีค่ากว่าฉันทลักษณ์ กาพย์ยานี ๑๑


๏      ศิลปิน ระบิลชื่อ.............ไม่ยึดถือ ตามอดีต
สร้างสรรค์ บรรจงขีด...........อย่างมีอิส (สะ)รเสรี

๏      จริตใคร จริตมัน............ไม่สำคัญ มั่นวิถี
อย่าทอด ทิ้งความมี............สิ่งดีงาม จำดวงใจ

      วิจารณ์ งานคนอื่น...........หลงชมชื่น รื่นรมย์ใหล
แต่ทำ งามยังไง ?...............ไร้สติ ไม่มีปัญญา

๏      ตำรา ฉันทลักษณ์..........ต้องตระหนัก หลักสิกขา
อ้างพิง อิงอาจา-.................รยะเก่า ตามเล่าเรียน

๏      แต่รจน์ บทกวี...............อิสระมี มิใช่เพี้ยน
รู้ปรับ รับปรุงเปลี่ยน.............ย่อมเป็นเฉก เอกกวี ฯ

๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

หมายเหตุ : 
 ใน หนังสือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต ๒๕๕๔
อธิบาย อินทรวิเชียรฉันท์๑๑ ไว้
โดยยก ตัวอย่าง บทสวดมนต์....

 องค์ใดพระสัมพุทธ..... สุวิสุทธสันดาน 
ตัดมูลเกลศมาร............ บ มิหม่นมิหมองมัว 
 หนึ่งในพระทัยท่าน..... ก็เบิกบานคือดอกบัว 
ราคี บ พันพัว............... สุวคนธกำจร 
 องค์ใดประกอบด้วย ....พระกรุณาดังสาคร 
โปรดหมู่ประชากร ..........มละโอฆกันดาร 
 ชี้ทางบรรเทาทุกข์ .......และชี้สุขเกษมสานต์ 
ชี้ทางพระนฤพาน........... อันพ้นโศกวิโยคภัย 
 พร้อมเบญจพิธจัก-.......ษุจรัสวิมลใส 
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล.......... ก็เจนจบประจักษ์จริง 
 กำจัดน้ำใจหยาบ........ สันดานบาปแห่งชายหญิง 
สัตว์โลกได้พึ่งพิง...........มละบาปบำเพ็ญบุญ 
 ข้าขอประณตน้อม...... ศิรเกล้าบังคมคุณ 
สัมพุทธการุญ-.............. ญภาพนั้นนิรันดรฯ

 ท่านแต่งผิดฉันทลักษณ์ (ที่ยึดถือในปัจจุบัน)ของ อินทรวิเชียรฉันท์๑๑ หลายแห่ง
ผู้ประพันธ์บทสวดมนต์นี้เป็นถึงนักปราชญ์ราชบัณฑิตในรัชกาลที่  
นามของท่านคือ พระยาศรีสุนทรโวหาร
เป็นองคมนตรี และ เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่

กฤษณาสอนน้อง 

สัทธราฉันท์ ๒๑
เอกองค์อนงค์นุชนงคราญ
กลศศิชัชวาล
เมฆ บ่ พ้องพาน
ก็ผ่องพิศ
เป็นพงศ์ขัตติยาวราฤทธิ์
วุบุลธนสมิทธิ์
อัครราชิศ
รบดี
รักศักดิ์สุริย์วงศ์กษัตรี
กลมิคจมรี
เสน่หอินทรีย์
สงวนพาล
ไป่ได้อาลัยในชนมาน
บ่มลสัตยปาน
เปรียบก็ปูนประมาณ
ดั่งยองยง
บริรักษ์ภักดีบาทบงสุ์
นฤบดิศรทรง
คุณคือองค์
พระภรรดา...

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ตื่นก่อนเมื่อนอนหลัง
พึงเฝ้าฟังบรรหารแสดง
ตรัสใช้ระไวระแวง
ระวังศัพท์รับสั่งสาร
ยามไท้ธิเบศทรง
ประชวรองค์บ่สำราญ
อย่าคลาพยาบาล
บำเรอรักษ์ภักดีตระโบม
ปางท้าว ไสยา
อย่าลีลาให้เครงโครม
อำรุงฤทัยประโลม
บพิตรผู้อย่าดูเบา
ที่สูงที่ไสยาสน์
อย่าอุกอาจจักเอื้อมเอา
สิ่งใดบ่ได้เคา
รพไท้ ไป่ควร
ยามเอื้อนโองการตรัส
สนองอรรถอย่าลามลวน
ยามท้าว เชยชวน
บันโดยชอบในเชิงสม
ยามร้อนพึงไกวกวัด
รำพายพัดรำเพยลม...


....พฤษภกาสร
อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง
สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย
มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี
ประดับไว้ในโลกา...


อิลราชคำฉันท์
พระราชนิพนธ์คำนำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้แต่ง: พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ)

วสันตติลกฉันท์ ๑๔
.... ปราบได้ณไกวลประเทศ .......ทศทิศก็เกรงแกลน
กลอกเกล้าและหนาวภยมิแคลน..... วรฤทธิเรืองรณ...(เว้น)
..... เบื้องบรรจถรณทิพอาส-....... นก็เอี่ยมอุไรไพ-
จิตรลายจำหลักฉลุพิไล- ..............ยพิลาสลดามาลย์...(เว้น)
.... พลคชก็คือสุรคเชน- ............ทรไอยราอินทร์
ชำนนชำนาญชำนะอริน- ...............ทรล้วนชโลมมัน....

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ภาคพื้นพนารัญ .........จรแสนสราญรมย์
เนินราบสลับสม........... พิศเพลินเจริญใจ...(เว้น)
.... อวยพรพิพัฒน์พ้น.... ภยเวทวราคม
นอกนี้่ฤเปรียบสม.......... ศิขรินทรงามงอน....

อนิรุทธคำฉันท์.... (ยิ่งเก่า..ยิ่งยุ่ง)
ผู้แต่ง: ศรีปราชญ์

วสันตติลกฉันท์๑๔
ก้มเกล้าก็ทูลทุกขทุกขา......... ดุรความอันแค้นเคือง
ใจรักบำราสนฤบดีเปลือง........... จิตตข้าทุราทวา
น้ำหน้าสรสรกคือชลพรร ..........ษแลพาษปะธารา
อ้าพ่อมาจำทุกขทุกขา............... ดุรเดือดฤดับคง
แต่ก่อนบเคยนฤบดีจาก........... จิตตเท่าธุลีผง
ฤาพ่อบเอื้อฤทยทรง ..................ทุกขข้ากำศรวญศัลย์....

สรุปให้ว่า : ฉันทลักษณ์ มีการปรับปรุง-เปลียนแปลงไปตามยุคสมัย ตามใจกวี
มิได้ยึดติดตายตัว .... แล้วแต่ความนิยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น