ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รักษาหน้าที่ = รักษาธรรม : กลอนคติสอนใจ




รักษาหน้าที่ = รักษาธรรม : กลอนคติสอนใจ
(ละเยฉันทลักษณ์)


       ลมพัดพา เมฆาคลุ้ง..................เมฆพยุง ฟุ้งฟูมฝน
ฝนนำน้ำ ชุ่มฉ่ำชล..........................น้ำระยล ดลเยือกเย็น

       หากวันใด ลมไม่พัด..................เมฆาขาด ไปปราศเห็น
ฝนไม่ยาม น้ำไม่เย็น........................โลกหมุนเว้น เน้นนิ่งวาย

       ทุกชีวี บนพิภพ..........................คงสิ้นจบ สบสลาย
เพราะธรรมชาติ หยัดมิกลาย................สิ่งทั้งหลาย ได้อยู่ยง

       สรรพสิ่ง มีสถานะ.......................ทุกชีวา อานิสงส์
มีหน้าที่ ต้องธำรง..............................เครื่องชี้บ่ง คงค่าคุณ

       หากเพิกเฉย เลยหน้าที่.................ชั่วช้ามี ชี้สถุล
หากเกียจคร้าน งานค้างตุน...................เสียสมดุล เกิดวุ่นไว

       หากวิปริต ผิดหน้าที่......................ปัญหาปรี่ สิเสียไส
ไม่เป็นธรรม อำเภอใจ...........................ระเบียบไร้ ภัยเภทมี

       ธรรมะคือ ความถูกต้อง....................คือครรลอง ของวิถี
คือกฎเกณฑ์  เป็นความดี.......................คือนิยาม ความเป็นจริง

       การรักษา ทำหน้าที่.........................เป็นความดี เหนือทุกสิ่ง
เป็นสัจจา อย่าทอดทิ้ง............................บุญเพริศพริ้ง ยิ่งใหญ่เอย ฯ   
          
๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น