วิธีแต่งกลอนให้เก่ง....ไพเราะ
*การมีพื้นฐานด้านหลักภาษาไทย-หลักการใช้ภาษาไทยมีความสนใจ ขยันหมั่นเพียร ฝึกฝน พัฒนาความรู้-ความสามารถอยู่เสมอ
คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย
สำหรับผู้ต้องการแต่งบทกวีที่่ไพเราะ และเชี่ยวชาญ
คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย
สำหรับผู้ต้องการแต่งบทกวีที่่ไพเราะ และเชี่ยวชาญ
ทั้งยังจำเป็นที่จะต้อง
ท่องศัพท์ จำศัพท์และความหมาย ไว้ให้มากๆ
ท่องศัพท์ จำศัพท์และความหมาย ไว้ให้มากๆ
แต่ความจำความรู้ของคนเรา ก็มีขีดจำกัด
ดังนั้น ในการแต่งกลอนจึงมักต้องค้นหาศัพท์เสมอๆ
ดังนั้น ในการแต่งกลอนจึงมักต้องค้นหาศัพท์เสมอๆ
การไม่มีพจนานุกรมไทย
ไว้ค้นคว้า
จะแต่งกลอนให้ดีได้ยาก
*ต้องหมั่นแต่งกลอนบ่อยๆ
แต่งเป็นประจำ
กิจกรรมทุกอย่าง
หากมีความชำนาญ ก็จะทำได้คล่อง ทำได้ดี
ซึ่งต้องอาศัยการทำบ่อยๆ
ทำเป็นประจำ สม่ำเสมอ
คิดอะไร
ก็พยายามให้คำ สัมผัสเป็นกลอน
*ดูตัวอย่าง
บทกวีที่มีชื่อเสียง
เพื่อศึกษาฉันทลักษณ์ กลวิธี
กลบท ของประเภทการประพันธ์
สร้างความคุ้นเคยกับฉันทลักษณ์
และได้รู้ศัพท์ที่ไม่รู้ด้วย
โดยเฉพาะการแต่งหลากหลายฉันทลักษณ์
หากเริ่มโดยการทบทวนบทกลอนเก่าๆที่แต่งโดยฉันทลักษณ์นั้นๆก่อน
จะทำให้แต่งได้ง่าย และราบรื่น
โดยเฉพาะการแต่งหลากหลายฉันทลักษณ์
หากเริ่มโดยการทบทวนบทกลอนเก่าๆที่แต่งโดยฉันทลักษณ์นั้นๆก่อน
จะทำให้แต่งได้ง่าย และราบรื่น
*การเลือกประเภทบทประพันธ์
ควรให้สอดคล้องตอบสนองเนื้อเรื่อง
เพราะฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์ จะบังคับการใช้ศัพท์ - พยัญชนะ
- สระ ฯลฯ
ซึ่งส่งผลต่อ ความหมายของเนื้อหาสาระ และรสสัมผัสของจังหวะ - เสียง
โดยเฉพาะหากกำหนดคำศัพท์ไว้ล่วงหน้า
โดยเฉพาะหากกำหนดคำศัพท์ไว้ล่วงหน้า
ควรเลือกศัพท์
และเสียง รับกันกับเนื้อเรื่อง
จะสลับเสียงสูงต่ำไปมา
หรือ สม่ำเสมออย่างไร
ขอให้เอาจิตใจเป็นเครื่องวัดความไพเราะ
เอาอารมณ์-ความรู้สึกวัดความเสนาะ
อย่าใช้แค่ปากอ่าน - หูรับฟัง
ไม่จำเป็นต้องยึดเสียงวรรณยุกษ์ตามหลักที่ตำราอ้างตามวรรค เช่น สดับ-รับ-รอง-ส่ง ฯลฯ
นอกจากจะแต่งเพื่อใช้ร้องทำนองเสนาะ
ไม่จำเป็นต้องยึดเสียงวรรณยุกษ์ตามหลักที่ตำราอ้างตามวรรค เช่น สดับ-รับ-รอง-ส่ง ฯลฯ
นอกจากจะแต่งเพื่อใช้ร้องทำนองเสนาะ
*ที่สำคัญ คือ
อารมณ์สุนทรีย์
ต้องมีประจำอยู่ในอารมณ์-ความรู้สึกนึกคิด-จิตใจ
โดยเฉพาะในยามที่แต่งกลอน
ยามคิดถ้อยคำ
ปล่อยใจ
ปล่อยอารมณ์ ให้เป็นอิสระ ล่องลอยไปสู่อากาศ
ปลดปล่อย จินตนาการ - ความรู้สึก
- ความคิด....ให้พ้นจากพันธนาการใดๆทั้งหมด
ดำดิ่งลงไป ในห้วงแห่งจินตนาการของความคิดสร้างสรรค์
พาตัวเองให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่แต่ง
มีสมาธิกับการเรียงร้อยประดิษฐ์ถ้อยคำเพียงอย่างเดียว
(ถ้าทำอย่างอื่นไปด้วย สมาธิอาจไขว้เขวได้)
ดำดิ่งลงไป ในห้วงแห่งจินตนาการของความคิดสร้างสรรค์
พาตัวเองให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่แต่ง
มีสมาธิกับการเรียงร้อยประดิษฐ์ถ้อยคำเพียงอย่างเดียว
(ถ้าทำอย่างอื่นไปด้วย สมาธิอาจไขว้เขวได้)
*ใส่ความคิด ความสนใจ ความรู้สึก เข้าไปร่วมในเรื่องที่เรากำลังแต่ง
สร้างอารมณ์ ให้กลมกลืนกับเนื้อเรื่องที่แต่ง
สร้างอารมณ์ ให้กลมกลืนกับเนื้อเรื่องที่แต่ง
กลอนอกหัก ก็เศร้า ..
กลอนรัก ก็ หวานซึ้ง...
กลอนตลกก็ต้องขบขัน
กลอนการเมืองก็ต้องเข้มข้น
หนักแน่น
กลอนธรรมะ ก็ สะอาด สงบ สว่าง....ฯลฯ
เลือกฉันทลักษณ์
เลือกศัพท์ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาด้วย
จึงจะได้อรรถรส
จึงจะได้อรรถรส
*หมั่นฝึกฝนแต่งกลอน ทุกวัน - ทุกเวลา ที่มีโอกาส
แต่งอย่างสม่ำเสมอ
เป็นกิจวัตรประจำวัน ไม่ละทิ้ง
ต้องฝึกตน
ให้เป็นคนมีสุนทรียภาพในจิตใจ
มีอารมณ์ที่สวยงาม
มีความรู้สึกอันละเอียดอ่อน
มีความคิดอ่านที่ลึกซึ้ง
เปิดหูเปิดตา หาความรู้-วัตถุดิบใหม่ๆ อย่าได้หยุดอยู่กับที่
เปิดหูเปิดตา หาความรู้-วัตถุดิบใหม่ๆ อย่าได้หยุดอยู่กับที่
แต่งบ่อยๆ จะเกิดเป็นอารมณ์กวี ประจำตัว ประจำใจ
*นอนหลับให้เพียงพอ
เพราะการอดนอนเป็นสาเหตุให้สมองเสื่อม
ความจำเสื่อม ความคิดเบลอ เฉื่อยชา คิดอะไรไม่ออก (ง่วงนอน ปวดหัว อารมณ์เสีย ด้วย)
หลีกเลี่ยงบุหรี่-สุรา-ยาเสพย์ติด
เพราะเป็นพิษ ทำลายเซล์สมอง
*นอนหลับให้เพียงพอ
เพราะการอดนอนเป็นสาเหตุให้สมองเสื่อม
ความจำเสื่อม ความคิดเบลอ เฉื่อยชา คิดอะไรไม่ออก (ง่วงนอน ปวดหัว อารมณ์เสีย ด้วย)
หลีกเลี่ยงบุหรี่-สุรา-ยาเสพย์ติด
เพราะเป็นพิษ ทำลายเซล์สมอง
*มีอารมณ์แน่วแน่ ในรสแห่งกลอน เรื่องนั้นๆ
มีเนื้อหาการแต่ง
ที่เป็นเรื่องเดียวกัน
แต่งให้สอดคล้อง - ต่อเนื่องกันไป
เอาแต่เนื้อๆ
มีน้ำให้น้อยที่สุด
อย่ามีแต่
น้ำ หรือ น้ำผสมเนื้อ
อย่าให้มีคำมากมาย
แต่จับใจความสำคัญไม่ได้เลย
เริ่มจากการอารัมภบท จนนำไปสู่การสรุปประเด็นในบทสุดท้ายได้ ยิ่งดี
เริ่มจากการอารัมภบท จนนำไปสู่การสรุปประเด็นในบทสุดท้ายได้ ยิ่งดี
*ควรร่างเนื้อเรื่องคร่าวๆก่อน
หรือ กำหนดไว้ในสมอง
จัดวางเค้าโครงเรื่อง
มีการวางแผน
จัดลำดับเรื่องราว จากต้นไปหาปลาย
แล้วค่อยแต่งตามนั้น
แต่งไปหากเกิดติดขัด
ก็ปรับแก้ได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบ
และอย่าลืมอ่านทบทวน
แก้ไขปรับปรุง
ไม่ให้เนื้อหากระจัดกระจายไปคนละทาง
(บ่อยครั้งก็เริ่มจากการคิดได้แค่บางส่วน ต้องแต่งก่อน แล้วค่อยๆคิดส่วนที่เหลือทีหลัง แต่ต้องสอดคล้องกัน)
(บ่อยครั้งก็เริ่มจากการคิดได้แค่บางส่วน ต้องแต่งก่อน แล้วค่อยๆคิดส่วนที่เหลือทีหลัง แต่ต้องสอดคล้องกัน)
*หาความรู้-หาข้อมูลใหม่ๆ-แต่งเรื่องใหม่ๆ-ฉันทลักษณ์ใหม่ๆบ้าง
จะได้ไม่ซ้ำซาก
การพัฒนากระบวนการคิด การคัดสรรความรู้....ก็สำคัญ
ต้องมีการศึกษาหาความรู้
หาเรื่องราว ข้อมูล
มีหูตากว้างไกล
มีความคิดลึกซึ้ง
มีคุณธรรมความงามดี
มีศีลธรรมประจำใจ
*อย่าแต่งแบบ ต้องฝืนแต่งให้ได้ ทั้งๆที่ ไม่มีไอเดีย
แต่ต้องทำให้ ความคิดสร้างสรรค์ ทำงานร่วมกับจิตอันเป็นกุศล
เมื่อเกิดไอเดีย
เกิดประกาย ก็จดเก็บไว้ก่อน
เอามาค่อยๆขยายความ เพื่อแต่งต่อ
ไม่มีไอเดีย
ก็นิ่งๆไว้ ปล่อยใจให้สบายๆ
ไม่ต้องฝืนแต่ง
เพราะ
กลอนที่ฝืนแต่งมักไม่ได้เรื่อง
เสียเวลาแต่งเปล่าๆ
การจะนำความคิด-ข้อมูล มาแปลงเป็นบทกลอนได้
ต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะความคิด-ข้อมูล ให้สุกงอม
ดังนั้น การคิดการสนใจในเรื่องใดๆอยู่เสมอ
ย่อมทำให้สามารถเรียงร้อยเรื่องนั้นๆได้รวดเร็ว
การจะนำความคิด-ข้อมูล มาแปลงเป็นบทกลอนได้
ต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะความคิด-ข้อมูล ให้สุกงอม
ดังนั้น การคิดการสนใจในเรื่องใดๆอยู่เสมอ
ย่อมทำให้สามารถเรียงร้อยเรื่องนั้นๆได้รวดเร็ว
แต่งกลอนแล้ว
วางเก็บเอาไว้ ก่อน
อย่าเพิ่งรีบร้อน-เร่งรีบเผยแพร่
อย่าเพิ่งรีบร้อน-เร่งรีบเผยแพร่
ค่อยหวนกลับมาอ่านสัก 3-4 รอบ
เว้นระยะเป็นวันได้ยิ่งดี
ตรวจตรา ทบทวน แก้ไข ให้แน่ใจค่อยเผยแผ่ออกไป
ตรวจตรา ทบทวน แก้ไข ให้แน่ใจค่อยเผยแผ่ออกไป
บางทีแต่งเสร็จแล้ว เผยแพร่แล้วเป็นปี
ก็กลับมาพบข้อบกพร่อง แก้ไขปรับปรุงใหม่ได้
เพราะอาจพบว่าแต่งพลาด-พิมพ์ผิด โดยไม่รู้ตัว
(โดยเฉพาะเวลาเร่งรีบ-มีปัญหาอื่นค้างคาใจ-สมองเบรอเพราะง่วง/ไม่สบายฯลฯ)
(โดยเฉพาะเวลาเร่งรีบ-มีปัญหาอื่นค้างคาใจ-สมองเบรอเพราะง่วง/ไม่สบายฯลฯ)
*ขยันฝึกฝนบ่อยๆ
ปรึกษาผู้รู้
เลือกแนวที่ชอบ - ถนัด
แล้วจะประสบความสำเร็จ
* สิ่งที่ขาดไม่ได้
สำหรับนักประพันธ์ที่ดี คือ การเป็นผู้ที่
" รัก " ที่จะแสวงหาวิชาความรู้ พัฒนาความคิด-จิตใจ
" รัก " ที่จะถ่ายทอดความคิด-ความรู้สึก ออกมาเป็นบทประพันธ์
" รัก " ที่จะแต่งกลอน
ไม่ว่าจะแต่งได้ดี/แย่
สักแค่ไหน ก็ " รัก " ที่จะแต่ง
แม้ว่าจะใช้ทำมาหาเลี้ยงชีพไม่ได้ ก็ " รัก " ที่จะแต่ง
บ่อยเข้าๆ
ก็แต่งได้ดีเอง
ซึ่งแตกต่างจากคนที่ " อยาก " แต่ง
โดยไม่ได้ " รัก "
คนแบบนี้ มัก" อยากแต่ง-อยากทำ " ตามคนอื่น
โดยที่ตัวเอง ไม่มีความ " รัก " การแต่งกลอนเลย
*อย่าลืม
สติปัญญาที่ดี จิตใจที่งดงาม ของผู้แต่ง
จะทำให้เกิดบทประพันธ์ที่
ไพเราะ สวยงาม เปี่ยมด้วยคุณค่า
ความเป็นคนละเอียด ช่างสังเกต ช่างคิดและช่างจินตนาการ
เป็นคุณสมบัติสำคัญที่นักคิด-นักเขียนจำเป็นจะต้องมี
และต้องมีมากกว่าคนทั่วๆไป
ใช้สมองคิด
ใช้จิตใจประดิษฐ์ประดอย
ความเป็นคนละเอียด ช่างสังเกต ช่างคิดและช่างจินตนาการ
เป็นคุณสมบัติสำคัญที่นักคิด-นักเขียนจำเป็นจะต้องมี
และต้องมีมากกว่าคนทั่วๆไป
ใช้สมองคิด
ใช้จิตใจประดิษฐ์ประดอย
การเรียงร้อยบทกวี
เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะ ด้วยตัวอักษร
บทกวี คือ งานศิลปะ ไม่ใช่ งานวิชาการ
ถ้าไม่เข้าใจ จะไม่มีวันสร้างสรรค์ " บทกวีที่เป็นอมตะ "
ได้
ขอให้สมหวังและมีความสุขกับการแต่งกลอน
ฯ
๘ ตุลาคม
๒๕๕๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น