ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

ตัณหา=สมุทัย : กาพย์สุรางคนางค์๓๒



ตัณหา=สมุทัย กาพย์สุรางคนางค์๓๒

    หยาดน้ำ ค้างแข็ง...................ตกแต่ง ต้นหญ้า
รับขวัญ วันทา...........................อุษา สมัย
ควันขาว พวยพุ่ง........................ปรุงลม หายใจ
แปลกตา พาให้..........................ชื่นใน เหมันต์

    ลองนึก ตรึกดู........................คนอยู่ ลำบาก
คนไกล กลับอยาก......................มาหา หฤหรรษ์
อยากดู อยากเห็น.......................เล่นไม่ กี่วัน
ก็จร จรัล...................................พากัน กลับไป

    กิเลส ตัณหา..........................ชักพา มนุษย์
แส่อยาก ยากหยุด.......................ประดุจ หลงใหล
มิรู้ จักพอ...................................จดจ่อ จิตใจ
หาสิ่ง แปลกใหม่.........................มาให้ ชม-เชย

    รูป-รส-กลิ่น-เสียง....................ลำเลียง สัมผัส
วิถี ปฏิบัติ...................................มิอาจ อยู่เฉย
เห็นเป็น ปกติ..............................(จึง)ดำริ ละเลย
ทำตาม ใจเคย.............................เอ่ยชิน จินดา

    บัณฑิต พิศเพียร......................เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง
พัฒนา ผดุง................................มุ่งขจัด ปัญหา
ต้นเหตุ แห่งทุกข์.........................รุกราน อุรา
ตามหลัก พุทธา...........................ตัณหา=สมุทัย

    ยึดอริ ยมรรค...........................เป็นหลัก ปฏิบัติ
ตัณหา ขจัด.................................ศรัทธา อัชฌาศัย
อยู่ใน โลกอย่าง...........................ร้างทุกข์ สุขใจ
อัศจรรย์ อันใด.............................ไหนอาจ เทียบเทียม ฯ

๑๗ มกราคม ๒๕๕๘

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น