ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

หมาป่า กะ ลูกแกะ : กลอนนิทานสุภาษิต(กาพย์สุรางคนางค์๒๘)




หมาป่า กะ ลูกแกะ : กลอนนิทานสุภาษิต(กาพย์สุรางคนางค์๒๘)

................................ณ ป่า ละเมาะ
ลูกแกะ แบเบาะ...........เลียบเลาะ ลำธาร
ลงไป ลุยเล่น...............เช่นรื่น ชื่นบาน
สนุก สนาน..................สำราญ ฤดี

.................................ฉับพลัน ทันใด
หมาป่า ตัวใหญ่.............นิสัย บัดสี
เข้ามา กล่าวหา..............เจ้าช่าง กล้ามี
กวนขุ่น นที...................ข้ามิ อาจกิน

..................................ลูกแกะ ฉงน
ท่านอยู่ เบื้องต้น............แห่งชล กระสินธุ์
ข้าอยู่ ต่ำกว่า.................ธารา ไหลริน
มิอาจ ผันผิน..................สู่ท่าน ฉันใด

...................................หมาป่า พาที
หกเดือน ก่อนนี้...............เจ้าด่า ข้าใย ?
ลูกแกะ กล่าวว่า..............ประสา อะไร ?
อายุ ข้าไซร้....................ได้เพียง สองเดือน

....................................หมามิ ละลด
หากเจ้า ไม่ปด.................ปรากฏ ดูเหมือน
จะเป็น พ่อเจ้า..................ข้าเปล่า เลอะเลือน
ว่าพราง ย่างเคลื่อน...........โจนกัด แกะกิน

.....................................นิทาน สอนว่า
คนพาล มารยา..................สาไถย ไม่สิ้น
คอยจ้อง เอาเปรียบ............เหยียบย่ำ ช่ำชิน
อย่าใกล้ ไว้จินต์.................จงผิน ห่างเอย ฯ

๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น