พุทธศาสนาไม่ใช่วิทยาศาสตร์*
: บทความ**
มีใครที่ตั้งเงื่อนไขว่า
อาหารต้องแสดงองค์ประกอบทางเคมีก่อน จึงจะยอมรับประทาน?
ใครใส่ใจว่า
ดนตรีต้องมีการบรรเลงอย่างสอดคล้องตามทฤษฎีฟิสิกส์?
ใครที่ยอมอยู่อาศัยในบ้าน-ห้อง
ก็หลังจากเมื่อได้ตรวจสอบความสมดุลสภาพแวดล้อมด้วยหลักชีววิทยา?
การทำมาหากินของคนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้หลักวิทยาศาสตร์ ต้องเลิกให้หมดหรือไม่?
วิชาด้านภาษา การพูด การเขียน ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ เราต้องเลิกสอน-เลิกเรียนภาษาหรือไม่?
การเมืองการปกครองห่างเหินความเป็นวิทยาศาสตร์มาก เรายังจะไปลงคะแนนใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่?
การท่องเที่ยวก็ไม่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
จะเลิกท่องเที่ยวไหม?
การเสริมสวยยิ่งไม่สัมพันธ์เนื่องด้วยวิทยาศาสตร์
เลิกเสริมสวยไปเลยไม๊?
เงินที่ไม่ได้หามาจากการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ จะทิ้งไปหรือเปล่า?
ความรัก
ที่วัดค่าเป็นตัวเลขทางสถิติไม่ได้ ไม่ใช่ความรัก?
ความรู้ที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
ไม่ถือว่าเป็นความรู้?
วัฒนธรรมประเพณีไม่ใช่วิทยาศาสตร์
จึงไม่มีประโยชน์?
กิจกรรมที่ไม่คำนึงถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ต้องถูกปฏิเสธทั้งหมด?
ฯลฯ
ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นคำถามต่อคนที่มีความนิยมหลักวิทยาศาสตร์อย่างหัวปักหัวปำ ว่ามีความคิดที่ถูกต้อง-ชอบด้วยเหตุผลหรือไม่?
แล้วเหตุใด
จึงต้องสร้างเงื่อนไข-ตั้งข้อสงสัย
ในความเป็นวิทยาศาสตร์กับศาสนาพุทธ?
เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบ-วัดค่าได้ เพียงเฉพาะสิ่งที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ/รูปธรรม แต่องค์ประกอบในหลักธรรมคำสอนทางศาสนาพุทธเป็นนามธรรม เช่น ความดี-ความชั่ว ความสุข-ความทุกข์ ความถูก-ความผิดฯลฯ ซึ่งตรวจสอบ-วัดค่าไม่ได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การจะศึกษา-พิสูจน์ข้อเท็จจริงของศาสนาด้วยวิธีวิทยาศาสตร์จึงเป็นไปไม่ได้
เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบ-วัดค่าได้ เพียงเฉพาะสิ่งที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ/รูปธรรม แต่องค์ประกอบในหลักธรรมคำสอนทางศาสนาพุทธเป็นนามธรรม เช่น ความดี-ความชั่ว ความสุข-ความทุกข์ ความถูก-ความผิดฯลฯ ซึ่งตรวจสอบ-วัดค่าไม่ได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การจะศึกษา-พิสูจน์ข้อเท็จจริงของศาสนาด้วยวิธีวิทยาศาสตร์จึงเป็นไปไม่ได้
ศาสนาพุทธ
ไม่ได้เป็นหลักสูตรวิชาที่สังกัดในคณะวิทยาศาสตร์
ศาสนาพุทธถูกจัดไว้ในคณะสังคมศาสตร์,มนุษยศาสตร์ ภาควิชาจริยศาสตร์และปรัชญา(เป็นต้น)
ในห้องสมุด หนังสือศาสนาก็มีหมวดต่างหาก
แยกจากหมวดวิทยาศาสตร์
ศาสนาพุทธจึงไม่ใช่วิทยาศาสตร์
แต่นั่นไม่ใช่สาระสำคัญ
เพราะศาสนาพุทธเป็นความรู้
ที่พระพุทธเจ้ารวบรวมมาจากการได้ศึกษาเล่าเรียนมาจากนักปราชญ์-ผู้รู้หลายๆสำนักหลายสาขาวิชา ผสานร่วมกับประสบการณ์การปฏิบัติจริงด้วยพระองค์เองจนบรรลุสัมฤทธิผล ก่อนจะสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่และประกาศเป็นศาสนาพุทธ
เนื้อหาสาระของศาสนาพุทธ
มีความสอดคล้องกับความเป็นจริงในชีวิต-ธรรมชาติของโลก มีความเป็นเหตุเป็นผล
ประกอบด้วยการค้นหา-วิเคราะห์-ถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีการทางตรรกะ มีความถูกต้อง สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการประพฤติปฏิบัติ(เฉพาะหลักใหญ่ใจความ-แก่นสาร-สาระสำคัญ
ไม่นับรวมส่วนที่เป็นเรื่องปลีกย่อย-เบ็ดเตล็ด ที่่มักสอดแทรกจินตนาการ)***
คุณค่า-ประโยชน์ของศาสนาพุทธมีอยู่ เมื่อบุคคลใดสามารถศึกษาให้เข้าใจ นำไปใช้ประพฤติปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน จะบังเกิดผลลัพธ์ด้านดีๆมีสติ-สมาธิ-ปัญญา หลักธรรมใช้เป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินชีวิตและกิจกรรมสังคม ซึ่งจะส่งผลให้คนมีศีลธรรม จิตใจซื่อสัตย์สุจริต มีน้ำใจต่อคนอื่น ลด-ระงับการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ขจัดความทุกข์โศกเดือดร้อนส่วนตัว ทำให้สังคมประสบกับความสงบสุข
เกิดความมีระเบียบเรียบร้อย-ไม่สับสนวุ่นวาย
หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ ช่วยแก้ปัญหาและลดอุปสรรคในการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อด้อย-ข้อบกพร่องของตัวเอง พัฒนานิสัยใจคอ-ความประพฤติ-บุคลิกภาพของคนให้ดีขึ้นได้
ปรัชญาของศาสนาพุทธ
ช่วยชี้แนะแนวทาง-ทิศทาง-เป้าหมายชีวิต ทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้แก่ผู้ศรัทธา
การทำตามค่านิยมของศาสนาพุทธ จะส่งเสริม-พัฒนาคุณภาพของคนให้สูงขึ้น ก่อเกิดความมั่นใจ
ทำให้มีสุขภาพกายสุขภาพใจที่เข้มแข็ง มีวิถีชีวิตที่เป็นปกติสุข ประสบกับความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน-มั่นคง
ความสำคัญและคุณค่าของศาสนาพุทธ
จึงอยู่เหนือค่านิยมด้านวิทยาศาสตร์ของใครบางคน ศาสนาพุทธมีประโยชน์กับทั้งเฉพาะตัวบุคคลและมนุษยชาติ
โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการยอมรับว่า เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่ฯ
๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓
*
วิทยาศาสตร์
หมายถึง
ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
รวมทั้งกระบวนการประมวล
ความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่า กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
จาก
<https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C>
**
บทความนี้ไม่ใช่บทความวิชาการ
***
ผู้เขียนหมายถึงหลักพุทธศาสนาที่ปรากฎในพระไตรปิฎก นิกายเถรวาท เท่านั้น
ไม่นับรวมนิกายอื่นๆ และไม่ได้รวมถึงพุทธศาสนาที่ถูกบิดเบือน/เปลี่ยนแปลงหลักธรรม หลักประพฤติปฏิบัติ ตามอำเภอใจของเจ้าสำนัก-วัดต่างๆ
***
ผู้เขียนหมายถึงหลักพุทธศาสนาที่ปรากฎในพระไตรปิฎก นิกายเถรวาท เท่านั้น
ไม่นับรวมนิกายอื่นๆ และไม่ได้รวมถึงพุทธศาสนาที่ถูกบิดเบือน/เปลี่ยนแปลงหลักธรรม หลักประพฤติปฏิบัติ ตามอำเภอใจของเจ้าสำนัก-วัดต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น