ก้าวพ้นโลก : โคลงสี่สุภาพ
๑.เหล่าดอกลำดวนแย้ม...........................รับคิมหันต์
ขจรกลิ่นยามสายัณห์.....................หอมฟุ้ง
ธรรมชาติคอยรังสรรค์....................ความวิจิตร
นิรมิตโลกงามคุ้ง..........................คล้ายเวทมายาฯ(คุ้ง=ว.ยาว,นาน,ตลอดไป)
๒.ปักษาส่งเสียงร้อง................................อาลัย
รังสีสุริโยไคล...............................ค่ำคล้อย
เดือนเพ็ญเด่นประไพ.....................พิสุทธิ์
ดุจเพชรรัตน์พร่างพร้อย..................ประดับห้วงรัตติกาลฯ
๓.ชีวิตผูกพานหล้า..................................รมณีย์
รูป-รสชาติ-สันสี............................กลิ่นฯลฯเร้า
ต่างโหยหาในรดี...........................สัมผัส
สัตว์ทั่วไปประสงค์เฝ้า....................เสพเรื้อสุขไฉนฯ
๔.ใครมุ่งมั่นหลุดพ้น................................โลกา
รอดสงสารวัฏฏา............................คลาดแคล้ว
จงสยบ(ความ)เสน่หา.....................พันผูก
อย่าถูกกามคุณแร้ว.........................รัดไว้ในพลาฯ
๕.เนกขัมมะปิดป้อง.................................กามคุณ*
(การ)ออกจากกามเจือจุน.................ขจัดข้อง
(การ)บวชไม่ใช่(เพื่อ)เอาบุญ............หวังวิเศษ
เฉกกิเลสชนจ้อง............................ต้องการกามสุขฯ
๖.ทุกอย่างยังรับรู้....................................แลเห็น
รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัสเจน.................ถูกต้อง
แต่มิติดใจเป็น...............................ทาสเยี่ยง
หลีกเลี่ยงความคิดข้อง....................สิ้นเยื่อใยสมฯ
๗.ปฐมบทการหลุดพ้น.............................สงสาร
เอาชนะสัญชาตญาณ......................ให้ได้
หลักมรรคผลนิพพาน.......................สูงส่ง
คงท่อง-กล่าว...หลุด(พ้น)ใกล้...........แทบไร้สักคนฯ
๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓
*
ดูกรพราหมณ์
กามคุณ ๕ ประการนี้
เรียกว่าโลกในวินัยของพระอริยเจ้า
กามคุณ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหูฯลฯ
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ
รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด
ดูกรพราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้แล
เรียกว่าโลกในวินัยของพระอริยเจ้า ฯ
จาก
<https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9188&Z=9255>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น