ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ธรรมชาติ-ชีวิต : กาพย์สุรางคนางค์๓๒



ธรรมชาติ-ชีวิต : กาพย์สุรางคนางค์๓๒


    ฝนตก ทำให้.......................พืชไร่ ปรีดี
แต่ข้าว นาปี............................ที่รวง เริ่มใหญ่
ถูกลม และฝน..........................พัดจน ล้มไป
แช่น้ำ ทำให้............................เปียกไร้ ราคา

    เป็นสัจ ปัถพี........................วิถี ชีวิน
ทำมา หากิน............................โดยพึ่ง ดินฟ้า
หวังผล ผลิต............................สัมฤทธิ์ อนิจจา
ต้องประสบ สภา-.......................วะโลก ร้อนรน

    หลากปี ผ่านไป.....................ภายใต้ ภัยแล้ง
ปีนี้ เปลี่ยนแปลง........................สำแดง ฤทธิ์ฝน
ตกแล้ว ตกเล่า...........................ทำเอา ท่วมจน
ชาวนา ยิ่งจน.............................ล้นหนี้ รุงรัง

     เกิดใน โลกา.........................(ต้อง)พึ่งพา ธรรมชาติ
แหล่งน้ำ สะอาด.........................อากาศ สุทธ์สังค์(สังค์=ความข้องอยู่)
ที่อยู่ อาศัย................................อาหาร ให้ยัง
ชีวา ประทัง................................ทุกอย่าง จำเป็น

    ทำลาย ธรรมชาติ.....................(เท่ากับ)พิฆาต ชีวิต
ครวญใคร่ ได้คิด..........................พิชิต ความเข็ญ
รักษา ธรรมชาติ...........................มิอาจ ละเว้น
จึงจะ อยู่เย็น................................เป็นสุข สนุกเอยฯ

๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๙

2 ความคิดเห็น: