กาลกฐิน..กาลกิเลส? : โคลงสี่สุภาพ
๑.
เหมือนมีเกราะปกป้อง..................กันภัย
ผลักดันพายุไป.............................แผ่วพ้น
ความกดอากาศสูงไส.....................เมฆหมู่
สู่ทะเลจีนใต้ท้น............................น้ำท่วมอันตรธานฯ
๒.
ออกพรรษาพี่น้อง........................ไทยพุทธ
ต่างพากันอุตลุด............................เร่งซื้อ
เครื่องกฐินกันเป็นชุด......................กองใหญ่
ถวายวัดเสียงอึงอื้อ.........................อวดอ้างบุญมหันต์ฯ
๓.
หมายมั่นมุ่งจิได้...........................เงินตรา
มากๆชวนชักพา.............................พี่น้อง
เพื่อนฝูงวงศาคณา..........................ญาติมิตร
ร่วมอุกฤษฏ์แซ่ซ้อง.........................ว่าได้ทำบุญฯ
๔.
พูนกิเลสตัณหาให้.........................พัฒนา
มิใช่หลักพุทธศาสนา........................สอนแล้ว
ธรรมวินัยมิประสา.............................ปฏิบัติ
ตัดสินตามใจแกล้ว...........................กิเลสกล้าสาไถยฯ
๕.
ธรรมวินัยว่าด้วยเรื่อง.......................กรานกฐิน
เกี่ยวกับการร่วมจินต์(สงฆ์).................เย็บผ้า
คงเพราะพุทธกาลสิน-.......................ทรัพย์ขัด(สน)
(พุทธองค์)ทรงประกาศกิจเฉพาะหน้า...(แค่)ช่วงพ้นพรรษาฯ
๖.
ไม่ใช่เพื่อวุ่นว้า...............................หาเงิน
หวังผลบุญกำไรเกิน..........................จ่ายไว้
พระ-วัด
รับเงินเพลิน..........................พาลจริต
ชีวิตคนทำ(บุญ)ไซร้..........................ยากแค้นแสนเข็ญฯ
๗.
อย่าเห็นพุทธศาสน์เพี้ยง...................ศักดินา
ลาภ-ยศ-สักการฯลฯ
หา.....................กิเลสเลี้ยง
เลิกอาศัยวัดวา.................................เป็นแหล่ง
แอบแฝงหากินเพี้ยง..........................พ่อค้าพาณิชย์ฯ
๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
กฐิน ตามศัพท์แปลว่า
ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร;
ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว
เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน
โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ
ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร
(จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้
และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ)
ครั้นทำเสร็จแล้ว
ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา
เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว
ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ
ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔);
ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น
เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ);
สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย
๕ รูป;
ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้
มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕
ค่ำ เดือน ๑๒
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น