ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วัด=สถานที่ท่องเที่ยว : กาพย์ยานี๑๑



วัด=สถานที่ท่องเที่ยว : กาพย์ยานี๑๑

    ยอดดอย รอยพุทธบาท..................เสมือนประกาศ ศรัทธาศรี
ดินแดน แคว้นบุรี...............................ณ แห่งนี้ พุทธพิไล

    เทียมฟ้า เทิดพระธาตุ.....................สุธามาศ สาดแสงใส(มาศ=ทองคำ)
สุดเขต ประเทศไทย...........................พุทธศาสน์ไคล ครองใจคน

    ถากถาง ถึงกลางป่า.........................สร้างมรรคา วัสดุขน
วิหาร โอฬารดล.................................ตั้งตระหง่านบน บรรพตพง

    แก้วสี มณีขุด..................................ทองบริสุทธิ์ อุตส่าห์ส่ง
ขจิตไว้ ใคร่ธำรง.................................มั่นคงสู่ คู่แผ่นดิน(ขจิต=ประดับ,ตกแต่ง)

    พลีเป็น พุทธบูชา.............................ตั้งปรารถนา สารพัดสิน
ต่างคน ต่างจลจินต์..............................มิสุดสิ้น อจินไตย

    ทุกอย่าง เยี่ยงสัญลักษณ์...................ทุนทะลัก ทุ่มเทให้
มองวัตถุ เจริญใจ.................................ถึงจุดหมาย ในชีวา

    วัด=สถาน ที่ท่องเที่ยว.......................เงินแลเหลียว เทียวเสาะหา
ชวนต่าง ชาตินานา................................ขนเงินตรา มาสู่ไทย

    ประชา-พระเสริมส่ง............................ร่วมยุยง หลั่งหลงใหล
ลึกล้ำ ธรรมวินัย.....................................หาไม่เห็น เป็นไปเอยฯ

๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙

*ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 หรือ หลักกำหนดธรรมวินัย 8 

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ
1. วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด, ความไม่ติดพัน เป็นอิสระ มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ, การเสริมความติด
2. วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด, ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์
3. อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส
4. อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย, ความมักน้อยมิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่, ความมักใหญ่ หรือมักมากอยากใหญ่
5. สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ
6. ปวิเวก คือ ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่
7. วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน
8. สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก
ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ คือคำสอนของพระศาสดา
จาก <http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=294

*ความกำหนัดย้อมใจ ได้แก่
ความติดใจรัก ยิ่งขึ้นๆ ในสิ่งที่มาเกี่ยวข้องหรือแวดล้อม
ถ้าการปฏิบัติ หรือ การกระทำ หรือ แม้แต่การพูดการคิดอย่างใด
ที่ทำให้บุคคลผู้นั้นมีความติดใจรักในสิ่งใดๆ แล้ว ถือว่าเป็นการปฏิบัติผิด
ตัวอย่างเช่น การดูหนังดูละคร เป็นต้น
มันทำให้เกิดความย้อมใจ อย่างที่กล่าวนี้ ด้วยอำนาจของราคะ เป็นต้น
ซึ่งจะเทียบดูได้กับจิตใจของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความสงบ หรือ แม้แต่อยู่ในที่สงัด
จะเห็นได้ว่า เป็นการแตกต่างกันอย่างตรงกันข้าม
พึงอาศัยตัวอย่างนี้ เป็นเครื่องเทียบเคียง จับความหมายของคำๆนี้ให้ได้
ทั้งในทางรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่สุด
ตัวอย่างแห่งธรรมารมณ์ เช่น การอบคิดฝันถึงสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ
 ก็ย่อมทำจิตให้ถูกย้อมด้วยราคะมากขึ้นๆ เป็นต้น
จาก <http://www.buddhadasa.com/rightstudydham/dhamanalysis.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น