ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เห็นใครบางคน : กลอนคติรัก(กลอนเจ็ด)




เห็นใครบางคน กลอนคติรัก(กลอนเจ็ด)

    เห็นใคร บางคน พิมลพักตร์                งามนัก มากคน ล้นรักหมาง
เอาอก เอาใจ ไม่วายวาง                           คล้ายช่าง สุขแสน แม้นเทพา

    เห็นใคร บางคน ฉลเฉิดฉาย                กับรัก หลากหลาย กรายมาหา
สูญเสีย เวล่ำ พร่ำเวลา                              เพราะเรื่อง ไร้ค่า มายาคลอ

    เห็นใคร บางคน มนหมกมุ่น                คิดครุ่น แค่ " รัก " ขวักไขว่ขอ
เก่าไป ใหม่มา เหมือนบ้าบอ                       ไม่พอ ไม่เพียง คนเคียงคลาย

    เห็นใคร บางคน ต้องสนสับ                 ติดกับ ความรัก ไม่หักหาย
ชีวิต อับจน วนวุ่นวาย                                ทุกข์หลาก มากมาย กรายกมล

    เห็นใคร บางคน จนสุดท้าย                 แพ้พ่าย เพราะ " รัก " ไร้มรรคผล
ไม่ทำ สิ่งไร ให้เยี่ยมยล                             เป็นคน ไร้ค่า น่าชิงชัง

    เห็นใคร บางคน ยลเป็นครู                  ขออยู่ อย่างไม่ หมายใจหวัง
แม้นไร้ ใครดี ที่จีรัง                                  ไม่สัง สรรค์รัก มักจำนง

    เห็นใคร บางคน จนรู้คิด                     ชีวิต จิตใจ อย่าใหลหลง
รักเดียว ใจเดียว เหนียวมั่นคง                       ซื่อตรง สุจริต คิดดีงาม

    ชีวิต พิสมัย มิไร้ค่า                            โสภา เผชิญ จำเริญหลาม
ศีลธรรม สัมมา พยายาม                            คือความ ล้ำเลิศ ชูเชิดชัย ฯ

๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น