ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564

พระพุทธเจ้าเปรียบคนกับดอกบัว ๓ ประเภท : พระไตรปิฎก

พระพุทธเจ้าเปรียบคนกับดอกบัว ๓ ประเภท : พระไตรปิฎก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
พรหมสังยุต
ปฐมวรรคที่ ๑
อายาจนสูตรที่ ๑
[๕๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ แถบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตอุรุเวลาประเทศ ฯ ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคผู้เสด็จ เข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็ ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกัน เกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรม เป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความ ลำบากของเรา ฯ อนึ่ง ได้ยินว่า คาถาอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนักเหล่านี้ ที่พระผู้มีพระภาค ไม่เคยได้ทรงสดับมาแต่ก่อน เกิดแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคว่า บัดนี้ เราไม่ควรจะประกาศธรรม ที่เราตรัสรู้แล้วโดยยาก ธรรมนี้ เหล่าสัตว์ผู้ถูกราคะโทสะครอบงำแล้ว จะตรัสรู้ ไม่ได้ง่าย เหล่าสัตว์ผู้ยินดีแล้วด้วยความกำหนัด ถูกกองแห่ง ความมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันทวนกระแส ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นดังนี้ พระหฤทัยก็ทรงน้อมไปเพื่อ ความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม ฯ [๕๕๖] ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัยของ พระผู้มีพระภาคด้วยใจแล้ว ได้มีความดำริว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะฉิบหาย หนอ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะพินาศหนอ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า ทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมพระหฤทัย ไปเพื่อทรงแสดงธรรม ฯ ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมอันตรธานไปในพรหมโลก มาปรากฏอยู่เฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้อยู่ หรือ พึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดอยู่ ฉะนั้น ฯ ครั้นแล้ว สหัมบดีพรหมกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว คุกชาณุ- *มณฑลเบื้องขวาลงที่แผ่นดิน ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมเถิด ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็น ปรกติก็มีอยู่ เพราะมิได้สดับย่อมเสื่อมจากธรรม สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี ฯ สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กราบทูลเป็นนิคมคาถา อีกว่า เมื่อก่อนธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ซึ่งศาสดาผู้มีมลทินทั้งหลายคิดแล้ว ปรากฏขึ้นในหมู่ชนชาวมคธ ขอพระองค์จงทรงเปิดประตูอมตะ เถิด ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมซึ่งพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจาก มลทินตรัสรู้แล้วเถิด ขอพระองค์ผู้มีพระปัญญาดี มีพระจักษุ โดยรอบ มีความโศกอันปราศจากแล้ว จงเสด็จขึ้นสู่ ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม จงพิจารณาชุมชนผู้จมอยู่ใน ความโศก ถูกชาติและชราครอบงำแล้ว อุปมาเหมือนบุคคล ผู้อยู่บนยอดภูเขา อันล้วนด้วยศิลา จะพึงเห็นชุมชนโดยรอบ ฉะนั้น ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ผู้ทรงชนะสงครามแล้ว ผู้ทรงนำ พวก ผู้ไม่มีหนี้ ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จงเสด็จ เที่ยวไปในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมเถิด ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี ฯ [๕๕๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบการเชื้อเชิญของพรหม และ ทรงอาศัยพระกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงทรงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ ก็ได้ทรงเห็น สัตว์ทั้งหลาย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตา มาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวก มีอาการเลว บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยยาก บางพวกมีปรกติเห็นโทษในปรโลกว่าเป็นภัยอยู่ ฯ ในกออุบลก็ดี ในกอปทุมก็ดี ในกอบุณฑริกก็ดี ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุม ก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ อาศัยอยู่ในน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงอยู่ บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ ตั้งอยู่ เสมอน้ำ บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ ตั้งขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ ก็ได้ทรงเห็นสัตว์ ทั้งหลาย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตา มาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวก มีอาการเลว บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยยาก บางพวกมีปรกติเห็นโทษในปรโลกว่าเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น ครั้นทรงเห็นแล้ว จึงได้ ตรัสตอบสหัมบดีพรหมด้วยพระคาถาว่า ประตูอมตะ เราเปิดแล้วเพราะท่าน ชนผู้ฟังจงปล่อยศรัทธา มาเถิด ดูกรพรหม เราจะไม่มีความสำคัญในความลำบาก แสดงธรรมอันประณีตที่ชำนิชำนาญในหมู่มนุษย์ ฯ [๕๕๘] ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมดำริว่า เราอันพระผู้มีพระภาคทรงทำ โอกาสเพื่อทรงแสดงธรรมแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๔๐๕-๔๔๘๒ หน้าที่ ๑๙๑-๑๙๔. http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=4405&Z=4482&pagebreak=0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น