ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

สุญญตาแบบไหน? : กลอนคติธรรม


สุญญตา ความว่าง เป็นหลักธรรมสำคัญของ พุทธศาสนามหายาน มีการผสมผสานแนวคิดของลัทธิเต๋า
ความหมาย-เนื้อหาส่วนใหญ่ ง่าย-ไม่ซับซ้อน 
แตกต่างจากสุญญตา ในพระไตรปิฎกของพุทธเถรวาท ที่มีรายละเอียดมาก
วิธีปฏิบัติและเป้าหมาย ก็ต่างจากพุทธเถรวาทอย่างสิ้นเชิง

สุญญตาแบบไหน? : กลอนคติธรรม

    ธรรมะ หาได้ ไร้เกณฑ์กฎ....................................มักง่าย ไปหมด สิอดสู

อะไรก่อน อะไรหลัง ตั้งใจดู................................ต้องรู้ ลู่ทาง สว่างขบ(คิด)


    คนไม่ รู้ดี มิรู้ชั่ว....................................................มีอยู่ ทั่วไป ในพิภพ

ทำชั่ว ทุกทาง อย่างสงบ(ใจ)..............................มิประสบ ความยาก ลำบากเข็ญ

 

    คนพาล มารยา จิตสาไถย.....................................ก่อกรรม์ จัญไร อย่างใจเย็น

ความสำ นึกบาป หลาบจำเห็น.............................ไร้เร้น เช่นวิบูลย์ สุญญตา(จิตว่าง)


    เพราะว่า ปล่อยวาง ตั้งแต่เจต................................ต่อเหตุ สามานย์ มีตัณหา(เป็นต้น)

คาดหวัง หลั่งผล ล้นหลากมา..............................ไร้สิ้น ศรัทธา (ต่อ)กฎแห่งกรรม(ว่างเปล่า-ไมมี)


    คำสอน พิสุทธิ์ พุทธศาสน์.....................................เริ่มต้น จากตัด ขาดชั่วส่ำ*

ความดี วิริยะ เพียรกระทำ....................................ประจำ จิตใส ใจบริสุทธิ์

 

    มิใช่ เริ่มต้น(ปฏิบัติธรรม) ก็ปล่อยวาง......................สมองว่าง อย่างคน วิกลมนุษย์(ขี้เกียจ ไม่คิด-ไม่ทำอะไร ฯลฯ)

วิปริต ผิดหลัก ศาสนาพุทธ..................................ประดุจ ความคิด อวิชชา


    อย่าปล่อย วางใจ ในต้นเหตุ..................................(ก่อกรรม)บัดสี กิเลส เจตน์ตัณหา

(จง)กระทำ กรรมดี วิริยา.....................................อุปสรรค ปัญหา พร้อมฝ่าฟัน


    สุดท้าย ปลายผล กระมลพร้อย..............................จึงค่อย ปล่อยวาง (ให้กฎแห่ง)กรรมสร้างสรรค์

สุญญตา(ว่างจากกิเลสตัณหา) สล้าง ช่างหัวมัน.....อย่าไป ไหวหวั่น สันติเทอญฯ


๑๓ กันยายน ๒๕๖๔


*บทโอวาทปาติโมกข์

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง, การไม่ทำบาปทั้งปวง

กุสะลัสสูปะสัมปะทา, การทำกุศลให้ถึงพร้อม,

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง, การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ(สะอาดบริสุทธิ์)

เอตัง พุทธานะสาสะนัง, ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ฯลฯ


**

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๒. มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)

.........

วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ
ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ 
.........
ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว
ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ
ทั้งปวง
........
ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่
เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ
             [๓๔๗] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำ
จิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้
             (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
             (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
สมาธิอยู่ ฯ
             (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
ด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่
เป็นสุข อยู่ ฯ
             (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ
ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ
.........
 ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา
เพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่
การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ
เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภ
ความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ฯ
............ฯลฯ
ส่วนใน "สุญญตวรรค ๑. จูฬสุญญตสูตร" 
พระพุทธเจ้าอธิบาย สุญญตวิหารธรรม ด้วยตัวอย่างอื่น 
ใช้คำว่า "ไม่ใส่ใจในสัญญา(อื่น)" แทน "ไม่ใส่ใจในนิมิตร(อื่น)" 
(ไม่รู้ว่า คำศัพท์ที่ใช้แตกต่างกัน มาจากคนแปลบาลีเป็นไทย หรือเปล่า?)
สรุปย่อๆ 
สุญญตวิหารธรรม ในพระไตรปิฎกพุทธเถรวาท 
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ ใส่ใจในสัญญา(นิมิตร)อย่างใดอย่างหนึ่ง ว่างเปล่าจากสัญญา(นิมิตร)อย่างอื่น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น