ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564

อย่าหลับหูหลับตาเชื่อธรรมะ : บทความ


อย่าหลับหูหลับตาเชื่อธรรมะ : บทความ

ตามพระสูตรนี้(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค ๑. อนุปทสูตร (๑๑๑)
การ "มีความเห็น" ของพระสารีบุตร ก็คือ วิตก วิจารณ์ หรือ นึก คิด วิเคราะห์
ต้องไม่มีตั้งแต่ ฌาน ๒ แล้ว ถ้ายัง "มีความเห็น" ตามเนื้อหาในพระสูตรนี้ แสดงว่า ยังไม่พ้น ฌาน ๑ เพราะ ฌาน ๒ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ฌาน ๓ มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ฌาน ๔ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์
ใครที่ไม่สักแต่คล้อยตาม แต่คิดวิเคราะห์ไปด้วย หรือถ้าเคยปฏิบัติได้แล้ว จะรู้ว่า
เนื้อหาในพระสูตรนี้ มีจุดที่ไม่ถูกต้อง
เพราะ หากปฏิบัติถึง ฌาน ๒-๔ แล้ว "มีความเห็น" ก็ทำให้พ้นจากฌาน ๒-๔ ทันที

อันที่จริง
การทำสมาธิแบบ "อานาปานสติ"
พระพุทธเจ้าสอนว่า ต้อง เพ่งที่ "ลมหายใจ" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
จะต้องไม่คิดอะไรเลย
และ ต้องทำคนเดียว-ในที่สงัด ด้วย
พวกที่ชอบชักชวนกันมานั่งสมาธิเป็นกลุ่มใหญ่ๆ
สอนให้ท่อง-พูด-คิด อะไรมากมาย ล้วนเหลวไหล-ไร้สาระ (ผู้เขียนเห็นแล้วขำมาก)
ทั้งคนสอน-คนปฏิบัติตาม ไม่มีวัน ได้ "ฌาน" หรอก
(อ่านเพิ่มเติมที่
ฌาน สุขสุดยอดทางกายที่คนจะมีได้
https://avijjapikkhu.blogspot.com/2010/08/blog-post_29.html )
(สำนวนการเขียนอาจไม่ค่อยได้ความ ต้องขออภัยด้วย)

ข้อสังเกตเพิ่มเติม
เรื่อง รูปฌาน พระไตรปิฎกมีการอธิบายที่ละเอียดเพียงพอ เข้าใจได้-ปฏิบัติตามได้
(พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค  รูปฌาน ๔
แต่ อรูปฌาน มีรายละเอียดน้อยมากๆ จนไม่รู้จะปฏิบัติตามได้อย่างไร? ผู้เขียนสงสัยว่า
หรือว่า จะไม่มีใครปฏิบัติถึง อรูปฌาน ตั้งแต่สมัยที่มีการสังคายนาพระไตรปิฎกแล้ว?
การศึกษาธรรมะวินัย ก็เช่นเดียวกัน อย่าสักแต่หลับหูหลับตาเชื่อ อ่าน-ฟังแล้ว ต้องคิดวิเคราะห์ให้กระจ่างชัด ให้เข้าอกเข้าใจ
อะไรที่ไม่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง ก็นำไปฏิบัติดู ว่า "จริงหรือเปล่า? ถูกต้องหรือไม่?"
อะไรที่ขัดแย้งกันเอง ก็ไปฏิบัติดู ว่า "อะไรจริง? อะไรไม่จริง? อะไรถูก? อะไรผิด?" ส่วนอะไรที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง อย่าหลับหูหลับตาเชื่อ และอย่าเสียเวลาปฏิบัติตาม ยกตัวอย่าง เช่น

ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11)[1]

คำว่า เทโว เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก

ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ 4) โดยลงมาฟังธรรมที่ชั้นดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้นที่ 2) จนบรรลุโสดาปัตติผล (สาเหตุที่พระศาสดาไม่เสด็จไปแสดงธรรมในชั้นดุสิต  เพราะเทวดาที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ไม่สามารถขึ้นไปในชั้นดุสิตได้ ด้วยศักดานุภาพที่น้อยกว่า เพื่อให้โอกาสฟังธรรมแก่เทวดาเหล่านั้น) 

ครั้นถึงวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร[1] ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก เมื่อทรงแลดูข้างล่าง สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่ เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง 3 เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียง ตักบาตรเทโว เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น จึงนิยม ตักบาตรเทโว กันจนเป็นประเพณีสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้

(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)


๒๖ กันยายน ๒๔๖๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น