๏ สร้างพระ(พุทธรูป) ทั่วบ้าน ทั่วเมือง............................แข่งเขื่อง ยิ่งใหญ่ ไพศาล
ทุ่มเท เงินทอง งบประมาณ...................................ร้อยล้าน พันล้าน มั่นใจ(ว่าคุ้ม)
๏ ฤดี ล้นท้น ศรัทธา.....................................................แต่(ศรัทธา)ต่อ ศาสนา(พุทธ) ก็หาไม่
(เพราะ)ละเลย หลักธรรม (มะ)วินัย.........................สร้างไว้ ไหว้กราบ ขอพร
๏ (พระพุทธ)รูปปั้น (กลาย)เป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์....................มากมี อิทธิฤทธิ์ พิศสมร
สมมาด ปรารถนา คุณากร......................................หาใช่ คำสอน ศาสดา
๏ (ศรัทธา)เชื่อแบบ งมงาย ไสยศาสตร์..........................ไม่ใช่ พระพุทธ (ธะ)ศาสนา
จึงเป็น หลักฐาน ที่มา............................................(คนไทย)นับถือ ศาสนา(พุทธ) ตามทะเบียน(บ้าน)
๏ เหตุผล ผู้สร้าง หวังทรัพย์..........................................รายรับ (จากนัก)ท่องเที่ยว เชี่ยวเปลี่ยน
เป้าหมาย ธุรกิจ พณิชย์เพียร..................................แนบเนียน ศาสนา หน้าบัง(บังหน้า)
๏ พิธี(กรรม)จัด วัดวา-พระบวช......................................(เทศนา)มนต์สวด ปลุกเสก(ของขลัง)ฯลฯ เอนกหวัง
กอบโกย ล่อทรัพย์ รับสตังค์..................................ยศสัก การะดั่ง อุดมการณ์
๏ ตั้ง(หน้าตั้ง)ตา หาทาง พ้นทุกข์..................................ด้วย(การ)หา ความสุข สนุกสนาน
ต่างอะไร กับเหล่า ชาวบ้าน?.................................นิพพาน (เทศน์)บรรยาย (หวัง)ได้เงิน
๏ ศึกษา ปฏิบัติ(ธรรม)เอง ก็ได้......................................อย่าสน คนไม่ เก้อเขิน(ไม่ละอาย)
ปกปัก(รักษา) หลักธรรม(วินัย) ดำเนิน.....................เพลิดเพลิน ผลลัพธ์ ประทับใจฯ
๑๒ กันยายน ๒๕๖๔
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ธรรมคุณ 6 (คุณของพระธรรม)
1. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม (พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว คือ ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
2. สนฺทิฏฺฐิโก (อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือ ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเองไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้
3. อกาลิโก (ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาล
4. เอหิปสฺสิโก (ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม และพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง
5. โอปนยิโก (ควรน้อมเข้ามา คือ ควรเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึง ด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น หมายความว่า เชิญชวนให้ทดลองปฏิบัติดู อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่นำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงที่หมายคือนิพพาน
6. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ (อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือ เป็นวิสัยของวิญญชนจะพึงรู้ได้ เป็นของจำเพาะตน ต้องทำจึงเสวยได้เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น