๏ ตั้งใจ รับศีล รับพร..........................................สะท้อน ไสยศาสตร์ ปรารถนา
บกพร่อง สติ ปัญญา...................................ไม่ประสี ประสา สิ่งสัจ
๏ ศีลไซร้ (หา)ใช่เป็น วัตถุ.................................(ต้อง)บรรลุ ด้วยการ ปฏิบัติ
(ต้อง)ก่อกรรม ทำเอง เคร่งครัด.....................บ่มี ทางลัด ให้-รับ
๏ (จะ)ได้ดี-ได้ชั่ว เพราะตัว(เอง)ทำ.....................หาใช่ พรคำ พร่ำสดับ
(ผู้)รักษา ศีลธรรม กำชับ...............................เท่ากับ มีพร อากรไกร(อากร=บ่อเกิด)
๏ "อัตตา หิ อัตตโน นาโถ"*......................อย่าให้ ความโง่(งมงาย) หลอกได้
ตนเป็น ที่พึ่ง ซึ่งประไพ.................................ชั่ว-ดี ไม่มีใคร ให้มา
๏ อยากมี สุขสม อุดมคิด....................................ชีวิต จรัสแจ้ง แสวงหา
ต้องมี สติ ปัญญา.........................................รักษา ศีลธรรม ความดี
๏ อย่าคอย คิดพึ่ง คนอื่น....................................อภิรมย์ ชมชื่น วิถี(พึ่งเขา)
ประจบ สอพลอ ก่อกาลี.................................จะไมมี พิพัฒน์ ธวัชชัย
๏ (จง)ตั้งตน บนทาง ที่ถูกต้อง............................(ความ)บกพร่อง ปรับปรุง แก้ไข
มิต้อง ขอพร จากใคร....................................โดยเฉพาะ (จาก)พวกไร้ ศีลธรรม
๏ บางที มีการ ศึกษา.........................................ก็หา ช่วยใคร ให้(สติปัญญา)เลิศล้ำ
ความโง่ งมงาย ใจประจำ...............................ย่อมนำ ความมืด มน(มาให้)เอยฯ
๒๐ กันยายน ๒๕๖๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท
๑๑. ชราวรรค
๕. มหากาลอุปาสกวัตถุ
๓. ปธานิกติสสเถรวัตถุ เรื่องพระปธานิกติสสเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ดังนี้) [๑๕๙] บุคคลสอนผู้อื่นอย่างไร ก็พึงทำตนอย่างนั้น ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว จึงควรฝึก(ผู้อื่น) เพราะตนนั่นแลฝึกได้ยากยิ่ง๔. กุมารกัสสปมาตาวัตถุ เรื่องมารดาของพระกุมารกัสสปเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๖๐] ตนแลเป็นที่พึ่งของตน๑- บุคคลอื่นใครเล่า จะเป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคลที่ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก๕. มหากาลอุปาสกวัตถุ เรื่องมหากาลอุบาสก (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๖๑] บาปที่ตนเองทำ เกิดในตน มีตนเป็นแดนเกิด ย่อมทำลายคนมีปัญญาทราม เหมือนเพชรที่เกิดจากหินทำลายแก้วมณี ฉะนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น