๏ ธรรมะ มิใช่...............................เรื่องอะไร ที่ตลก
มุสา ลามก..............................สกปรก เหลวไหล
เฮฮา สนุกสนาน......................สำราญ บันเทิงใจ
กลิ้งกลอก หลอกให้................หลงใหล เมามัว(แบบคณะตลก)
๏ ธรรมะ พาที...............................ต้องมี สัจจะ(พูดความจริง เอาจริงเอาจัง ไม่ทำเล่น)
(ส่งเสริม)ความดี วีระ................ขจัด ตัดชั่ว
กิเลส ตัณหา...........................อย่ากระสัน พันพัว
ไม่เห็น แก่ตัว..........................(ผิด-ชอบ)ชั่ว-ดี มีความรู้(รู้อะไรควร-ไม่ควร)
๏ บันเทิง เริงมาน..........................กับการ ไม่ประมาท
พูดจา สะอาด(วจีสุจริต)............ฉลาด ; ลด อดสู
ส่งเสริม ความสงบ-..................สุขพบ ประสบอยู่(สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี,นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง,
ไม่ใช่หัวเราะเฮฮาเป็นสุขอย่างยิ่ง)
ร่มเย็น เป็นประตู......................สู่วิจิตร ชีวิตจร
๏ ธรรมะ อย่าได้............................(พูด)ตามใจ คนฟัง(แฟนคลับ,เอาใจวัยรุ่น)
ลาภสัก การะหวัง.....................สั่งสม คารมร้อน
พจี ทุจริต................................ผิดหลักธรรม กำธร
ควรสำนึก เสียก่อน...................คิดสอน ใครๆฯ(สอนตัวเองให้ดีก่อน)
๗ กันยายน ๒๕๖๔
*พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[294] ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 หรือ หลักกำหนดธรรมวินัย 8 ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ 1. วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด, ความไม่ติดพัน เป็นอิสระ มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ, การเสริมความติด 2. วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด, ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์ 3. อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส 4. อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย, ความมักน้อย มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่, ความมักใหญ่ หรือมักมากอยากใหญ่ 5. สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ 6. ปวิเวก คือ ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่ 7. วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน 8. สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น