ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พุทธะ..ความต่าง : โคลงสี่สุภาพ



พุทธะ..ความต่าง : โคลงสี่สุภาพ


๑. เรียนหนังสือร่วมชั้น........................เดียวกัน
ครูอาจารย์แบ่งปัน..........................ความรู้
แก่ศิษย์เท่าเทียมกัน.......................สดับ
ผลการเรียนขับสู้............................เก่งได้ต่างกันฯ

๒. จบการศึกษาก้าว...........................หากิน
ครองวิถีชีวิน.................................ชีพเลี้ยง
บางคนมีทรัพย์สิน..........................รวยร่ำ
บางคนลำเค็ญเพี้ยง.......................ยากไร้ศฤงคารฯ

๓. เปรียบปานคนเข้าสู่........................พุทธศาสนา
มีโอกาสศึกษา..............................เรียนรู้
ทุกเพศ-วัย-วรรณา........................เทียมเท่า(วรรณา=วรรณะ)
โง่เขลาและฉลาดสู้........................ต่างพ้นมลทินฯ

. ศีล-สมาธิ อีกทั้ง............................ปัญญา
เป็นพุทธสิกขา..............................เพื่อให้
ช่วยกำจัดอวิชชา...........................กิเลส
เฉทอกุศลกลไซร้..........................สุดสิ้นสงสารฯ

. แต่คนพาลผู้เชื่อ.............................ไสยศาสตร์
มารยาว่าสามารถ...........................ทำได้
ยังบิดเบือนเคลื่อนคลาด..................แปลงผิด
อิทธิฤทธิ์วิเศษให้...........................แก่ผู้กระทำฯ

๖. อำพรางทุจริตไว้..............................ภายใน
แสดงตนทรงวินัย............................ยิ่งแท้
บัญญัติวัตรตามใจ...........................ประหลาด
ประกาศหลักปฏิบัติแล้......................สร้างภาพสุกใสฯ

. มิใส่ใจกูลเกื้อ..................................อริยมรรค(๘)
ย่อมไม่สามารถจัก............................หลุดพ้น
กิเลส-อาสวะลัก................................ลวงจิต
ความทุจริตยิ่งล้น..............................ยิ่งไร้พุทธธรรมฯ

. คนมีความซื่อไร้................................มารยา
ศีล-สมาธิ-ปัญญา..............................ฝึกเข้า
ลดกิเลส-อวิชชา...............................เครื่องหน่วง
ย่อมล่วงบ่วงความเศร้า.......................สิ้นทุกข์สมจินต์ฯ

๙ มิถุนายน ๒๕๖๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น