ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บริหารเงิน : โคลงสี่สุภาพ



บริหารเงิน : โคลงสี่สุภาพ

. ฝนตกค่ำจรดเช้า...................จุใจ
หลังจากห่างเหินไกล................เกือบแล้ง
สุริยนอยู่หนใด ?......................ไป่สบ
พบเมฆาแผ่แกล้ง.....................กลบฟ้าพลาผยอง ฯ

. มองเห็นเพียงแสงเรื้อง............รำไร(เรื้อง=เรือง)
จนเพลาผ่านไคล.......................สายคล้อย
เหมือนฝนมิใส่ใจ.......................ธุรกิจ
ปิดโอกาสเหลือน้อย...................พ่อค้าแม่ขาย ฯ

. อย่างไรยังเปิดร้าน...................ปกติ
พากเพียรพยายามมิ....................เกียจคร้าน
ฝนตกก็ช่างสิ.............................เสมือนเอ่ย
ขืนอยู่เฉยทรัพย์ม้าน....................กิน-ใช้เช่นเดิม ฯ(ม้าน=เหี่ยวแห้ง)

. ตราบยังเริ่มเปิดร้าน.................ย่อมมี
โอกาสขายของดี.........................แม้น้อย
หาควรปล่อยชีวี...........................สูญเปล่า
เอาแต่เล่นเป็นร้อย......................ไร้วุฒิภาวะ ฯ

. คนสมัยใหม่ต้องพึ่ง...................เงินตรา
แลกเปลี่ยนสิ่งของอา-...................หารเกื้อ
นอกจากเพียงเพื่อหา.....................จับจ่าย
ขวนขวายเก็บออมเอื้อ....................เผื่อไว้อนาคต ฯ

. เงินหมดหากเจ็บไข้....................ขึ้นมา
เอาอะไรเป็นค่ายา.........................ค่ายื้อ?
ชีวิตวิกฤติถา................................เคราะห์ถ่วง
อาจจำล่วงเงินรื้อ...........................ออกใช้ไขขัดสน ฯ

. จงเตือนตนอย่าคร้าน...................ทำกิน
อย่าจับจ่ายจนชิน...........................ก่อหนี้
เงินเหลือก่อนชีวิน..........................วายดับ
ดีกว่าเงินลับลี้................................แต่ครั้งยังชนม์ ฯ

. รายจ่ายอย่าให้ล้น.......................รายรับ
อย่าก่อภาระสรรพ...........................เกินกล้า
ความสันโดษคือทรัพย์.....................อันยิ่ง(สันโดษ=ยินดีเท่าที่มีเท่าที่ได้)
เห็นสิ่งของสินค้า............................อย่าซื้อเกินจำเป็น ฯ

๒๖ กันยายน ๒๕๕๗

*สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธน    ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง (พุทธพจน์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น