ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2565

พุทธศาสนาสอนอะไร? : กลอนคติธรรม


พุทธศาสนาสอนอะไร? : กลอนคติธรรม
(อ้างอิงเนื้อหาจากพระไตรปิฎกเท่านั้น)

    คำสอน ของพระพุทธ (ธะ)ศาสนา.......................เจาะจง สัจจา และปรมัตถ์*

เพื่อผอง พุทธ(ะ) บริษัท...................................(นำไป)ประพฤติ ปฏิบัติ ทัศไนย


    อย่าเมียง เพียงชน ที่ล้นทุกข์.............................ผู้ที่ มีความสุข ต่างเลื่อมใส

ต่อกุ ศลกรรม ธรรมวินัย...................................เพื่อใช้ เป็นชีวาตม์ ปรัชญา(ไม่ใช่จิตวิทยา)


    มากชน มาเชื่อ(ศรัทธา) เพราะเบื่อหน่าย.............(การ)เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ใจเหนื่อยล้า

ประสงค์ พ้นสงสาร วัฏจรรยา............................ปราถนา ทางเลือก ที่เยือกเย็น(หมดความเดือดร้อนลำบาก)

 

    หลายคน ล้นเหลือ เบื่อ-หลาบโลก......................ที่(มีเรื่อง)เศร้าโศก บกพร่อง ขัดข้องเข็ญ

อยากหลุด พ้นโลก วิโยคเร้น............................(ไป)เกิดเป็น เทวดา พรหมาภพ(พรหมา อ่าน พรม-มา)


    (หลายคน)ค้นหา สิ่งที่ ดีที่สุด.............................อันมนุษย์ ผู้อุตส่าห์ อาจประสบ

สำเร็จ อรหันต์ (ใน)ตำนานนบ(นอบ)..................(เป็น)อมตะ ประเสริฐกลบ (เหนือกว่าทุก)ภพชาติกรรมฯลฯ

 

    จึงมา ประพฤติ พรหมจรรย์(บวช).........................เพื่อการ บรรลุ สู่(ความ)เลิศล้ำ

นิพพาน อันบริสุทธิ์ โลกุตรธรรม**.....................ประจำ บำเพ็ญพรต หมดจดมี

 

    ไม่นับ คนที่ อยากมีสุข.......................................ไร้ทุกข์ ไร้โศก (ดำรงอยู่ใน)โลกวิถี

เพียงพร้อม ทำบุญ หนุนชีวี...............................ไม่อยากลี้ โลกตาม ความตั้งใจ


    พระพุทธองค์ ทรงรับ สรรพผลผอง......................สามารถสนอง ตอบตาม ธรรมวิสัย(ศาสนาพุทธช่วยได้)

ส่วนเรื่อง เป็นไปได้ หรือ(เป็นไป)ไม่ได้...............ต้องให้ ลองพิสูจน์ อุตส่าห์เองฯ***


๙ เมษายน ๒๕๖๕


*ปรมัตถ์=ประโยชน์อย่างยิ่ง,ความจริงอันเป็นที่สุด (คำวิเศษณ์)ลึกซึ้งจนยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้.

**โลกุตรธรรม=ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก-เหนือโลก.

***ผู้เขียนสังเกตว่า มีเนื้อหาในพระไตรปิฎกที่ขัดแย้งกันเอง คำสอนมากมายที่มีความไม่ครบถ้วน-ไม่ละเอียด

     ต้องไม่ลืมว่าสมัยก่อนยังไม่มีตัวอักษร พระไตรปิฎกรวบรวมขึ้นจากความทรงจำคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระเถระ โดยการท่องจำของพระสงฆ์จำนวนมาก ถ่ายทอดต่อๆกันมาเนิ่นนานเกือบ 1 พันปี ก่อนที่จะมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แปลเป็นหลายภาษา อาจจะแปลผิดเพี้ยนบ้าง-บันทึกผิดๆถูกๆบ้าง-สูญหายไปบ้าง ผ่านกาลเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปี สำหรับเนื้อหาที่ปรากฏในปัจจุบัน อะไรถูกอะไรผิดต้องลองปฏิบัติเองจึงจะรู้.


บทโอวาทปาติโมกข์

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง,           การไม่ทำบาปทั้งปวง

กุสะลัสสูปะสัมปะทา,                   การทำกุศลให้ถึงพร้อม,

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง,               การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง,               ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา,          ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,   ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง,

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี,         ผู้กำจัดสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต,    ผู้ทำลายสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต,             การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย,

ปาติโมกเข จะ สังวะโร,                 การสำรวมในปาติโมกข์,

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง,               ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค,

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง,                การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด,

อะธิจิตเต จะ อาโยโค,                   ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง,                 ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น