ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565

สัตว์ร้ายในร่างมนุษย์ : กลอนคติเตือนใจ






สัตว์ร้ายในร่างมนุษย์ : กลอนคติเตือนใจ

    มีหลายคน รังเกียจ เหยียดสีม่วง................................ทั้งที่สี(สัน) มิเคยล่วง เกินกับไผ(ไผ=ใคร)

หลายคนยิ่ง ชิงชัง ผักฝังใจ.....................................ผักไปทำ กรรมอะไร ให้ตราตรึง?


    บางคนจิต คิดชัง(คนอื่น) (เพียง)แค่ฟังชื่อ..................กล่าวใยใน ข่าวลือ กระพือถึง

วินิจฉัย ใจคน มนสะพรึง..........................................บัณฑิตจึง บ่ถือสา(คน) หา(ให้ความ)สำคัญ


    ใครจะชอบ จะชัง(ใคร) ปล่อยวางเถิด........................ไม่ก่อเกิด ความกระจ่าง เพื่อสร้างสรรค์

ต่อให้เรา คอยเอาใจ ไม่เว้นวัน.................................บางคนดัน ด่าว่า นินทาพลี

 

    ธรรมชาติ หมู่มนุษย์ (มัก)ไม่สุจริต.............................คอยนึกคิด ริษยา กล้าบัดสี

ทำอะไร ไม่มีกรอบ (ผิด)ชอบชั่วดี.............................เอาแต่ใจ ตนที่มี (ลักษณะ)พิสดาร


    มิหนำซ้ำ ความจริง สิ่งประจักษ์.................................(คน)ไม่น้อยมัก วิปริต วิตถาร

เสมอชาติ สัตว์ร้าย ใช้สันดาน...................................แส่คิดขบ ประสบการณ์ สร้าง(ความ)บรรลัย

 

    อย่าประมาท สัตว์ร้าย ในร่างมนุษย์............................ซึ่ง(จะ)ไม่หยุด ก่อกรรม ทรามสาไถย

สัตว์ซึ่งมี กิเลส (เป็น)เหตุสะใจ(กิเลสกาม).................อยากสร้างภัย ให้โลก วิโยคเพียง

 

    ความเห็นแก่ ตัวตน คนถนัด(นัก)................................มิลางเลือน เสมือนสัตว์ อุบัติเยี่ยง

พร้อมจะทำ ความดี เมื่อมีเมียง..................................ผลประโยชน์(ตอบแทน) โทษเลี่ยง เสี่ยงผจญ


    ยศตำแหน่ง หน้าที่ มีการศึกษาฯลฯ............................ไม่(อาจ)ประกัน จรรยา ว่า(ใคร)ไม่ฉล

เชื่อถือใคร จาก(การดู)ใบหน้า จะทุกข์ทน...................มนุษยธรรม ความเป็นคน ขัดสนเอยฯ


๑๘ เมษายน ๒๕๖๕


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรคที่ ๖
[๑๖] บุคคลพึงเห็นบุคคลใดผู้มักชี้โทษ เหมือนบุคคลผู้บอก ขุมทรัพย์ มักกล่าวข่มขี่ มีปัญญา พึงคบบุคคลผู้เป็นบัณฑิต เช่นนั้น เพราะว่าเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณที่ประเสริฐ โทษที่ลามกย่อมไม่มี บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ ก็บุคคลนั้น ย่อมเป็น ที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย แต่ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ บุคคลไม่ควรคบมิตรเลวทราม ไม่ควรคบบุรุษอาธรรม์ ควร คบมิตรดี ควรคบบุรุษสูงสุด บุคคลผู้อิ่มเอิบในธรรม มีใจผ่องใสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้วทุกเมื่อ ก็พวกคนไขน้ำย่อมไขน้ำ ไป พวกช่างศรย่อมดัดลูกศร พวกช่างถากย่อมถากไม้ บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกฝนตน ภูเขาหินล้วน เป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะลมฉันใด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่หวั่น ไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น...ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น