๏ ชีวิต วิกฤตยาม................................เกิดสงคราม ลุกลามผล
กระทบ แก่ผู้คน...............................บนโลกนี้ ปราณีไร้
๏ ความสุข คู่ทุกขา.............................บ่เลือกหน้า ว่าเป็นใคร
มาก-น้อย คล้อยตามไป....................ต้องชดใช้ ชะตากรรม
๏ ศัตรู และอุปสรรค............................(คือ)ปัจจัยหลัก ปักโลกค้ำ
(ความ)ลำบาก และตรากตรำ.............(ประจำสังขาร)สังขารประจำ เป็นธรรมดา
๏ (ความ)เข้าใจ ในชีวิต.......................ลด(หมกมุ่น)ครุ่นคิด (ว่า)ติดปัญหา
ไม่มี ใครดีกว่า(กัน)...........................อย่าน้อยใจ ในชีวิน
๏ ปล่อยวาง บางปัญหา.......................(ที่)ปราศปัญญา ขจัด(ให้)สิ้น
(เหมือน)ไม่เห็น ไม่ได้ยิน..................หมดมลทิน ในวิญญาณ*
๏ คำนึง ถึงกุศล..................................กรรมดีหน วิมลหาญ
เก่งกล้า กระทำการ...........................ย่อมบันดาล (พบ)พานผลดี
๏ เชื่อกฎ แห่งกรรมา...........................คือโสภา ทิฐิศรี(สัมมาทิฏฐิ**)
(เชื่อ)บุญญา บารมี............................วิริยะ สะสมปอง
๏ เชื่อว่า ถ้าทำดี.................................จะได้มี (ความ)ดีสนอง
ศัตรู อุปสรรคต้อง..............................พ้นเกี่ยวข้อง ป้องกันเอยฯ
๗ เมษายน ๒๕๖๕
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
*ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม 5 หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต)
1. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ)
2. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ)
3. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น)
4. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต)
5. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ 6)
ขันธ์ 5 นี้ ย่อลงมาเป็น 2 คือ นาม และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูป, 4 ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม. อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม 4 : วิญญาณขันธ์เป็น จิต, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น เจตสิก, รูปขันธ์ เป็น รูป, ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ 5
**สัมมาทิฏฐิ (บาลี: สมฺมาทิฏฺฐิ) หมายถึง แนวคิดที่ถูกต้อง ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว[1] ถือเป็นองค์แรกในมรรคมีองค์แปด อันเป็นแนวทางสู่การหลุดพ้นจากทุกข์
(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น