ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2565

ชั่ว-ดี มิใส่ใจ : กลอนสะท้อนสังคม




ชั่ว-ดี มิใส่ใจ : กลอนสะท้อนสังคม

    ใน(อดีต)ยาม ยังวัยเยาว์...........................ผู้แก่เฒ่า เฝ้าสั่งสอน

พึงหยุด อย่าพูดย้อน(โต้แย้งผู้ใหญ่).........ให้ว่านอน สอนง่ายดี


    ผิดหลัก ประชาธิปไตย.............................ตามเข้าใจ สมัยนี้

(เด็ก)ต้องกล้า กล่าววาที.........................(จึง)ชื่อว่ามี สติปัญญา


    (ในอดีต)ดื่มสุรา เที่ยวบาร์ผับ....................ต้องสดับ โดนตราหน้า

คือคน ฉลชั่วช้า......................................โดยเฉพาะถ้า เป็นผู้หญิง

 

    แต่ยุค สมัยนี้...........................................มวลสตรี มิประวิง

อ้างสิทธิ์ เสรียิ่ง.......................................ทำหลากสิ่ง เสมอชาย


    อยู่กิน โดยไม่แต่ง(งาน)...........................อยาก(ให้การ)ทำแท้ง ไม่ผิดกฎหมาย*

สำส่อน กันง่ายดาย..................................เสพสบาย ในกามารมณ์

 

    (ขนาด)ครองคู่ อยู่ก่อนแต่ง......................ยังขัดแย้ง มิสุขสม

หย่าร้าง สะพรั่งพรม.................................(เปลี่ยนคู่บ่อยๆ)ค่านิยม สังคมไทย

 

    (คน)คบกัน ทุกวันนี้.................................ไม่ดูที่ (เป็น)คนดีไหม?

เหตุเพราะ คนส่วนใหญ่............................บ่ใส่ใจ ใน(หลัก)ศีลธรรม(ตัวเองชั่ว จะเลือกคบคนดี?)


    ฐานะ(ดี) สิ่งประสงค์.................................เลือกเจาะจง ที่รวยร่ำ(เหยียดหยามความยากจน)

ชอบใจ ในหลักกรรม................................การทำตาม อำเภอใจ


    ผู้คน ทุกวันนี้...........................................เลือกวิถี คล้อยยุคสมัย

ดี-ชั่ว ช่างประไร.......................................สนใจแต่ เห็นแก่ตัวฯ


๑๙ เมษายน ๒๕๖๕


*กฎหมายใหม่ เปิดทางให้บุคคลทำแท้งได้ภายใน 12 สัปดาห์

  
โดยประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่แก้ไขใหม่ แตกต่างไปสองมาตรา คือ มาตรา 301 และมาตรา 305 ส่วนมาตราอื่นๆ ที่ไม่ได้แก้ไข จึงมีสาระสำคัญและบทลงโทษเท่าเดิม โดยสองมาตราที่แก้ไขแล้ว มีเนื้อหา ดังนี้
 
มาตรา 301 กำหนดให้หญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ โดยที่ไม่เข้าเงื่อนไขอื่นๆ ตามมาตรา 305 มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่าอัตราโทษลดลงจากประมวลกฎหมายอาญาเดิม
 
มาตรา 305 เพิ่มเหตุยกเว้นความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้ง หรือผู้ที่ทำให้หญิงแท้งโดยหญิงยินยอมไว้กว้างขึ้น หากเป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด
 
(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น
 
(2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง
 
(3) หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ประมวลกฎหมายอาญาเดิมก็กำหนดเหตุยกเว้นความผิดที่คล้ายกันไว้ แต่มีประเด็นปัญหาว่า คดีความผิดเกี่ยวกับเพศนั้นต้องมีการดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบเป็นภาระของหญิงที่จะทำแท้งว่า ต้องพิสูจน์ถึงการกระทำผิดดังกล่าวอันอาจส่งผลต่อจิตใจ ในมาตรา 305 (3) ใหม่จึงกำหนดเพียงให้หญิง “ยืนยัน” ด้วยตนเอง ก็จะไม่เป็นภาระต่อหญิงที่ต้องพิสูจน์ถึงการถูกกระทำทางเพศ
 
(4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ โดยการนับระยะเวลานั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์รณกรณ์ บุญมี อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อธิบายไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่านับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด
 
(5) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ แต่ไม่เกินยี่สิบสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
 
ทั้งนี้ กรณีตามมาตรา 305 (1) – (3) หญิงสามารถทำแท้งได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุครรภ์ 
(https://ilaw.or.th/node/5816)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น