ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2565

ทางพ้นทุกข์ที่ถูกต้องตามหลักศาสนาพุทธ : กลอนคติธรรม


ทางพ้นทุกข์ที่ถูกต้องตามหลักศาสนาพุทธ : กลอนคติธรรม

    ทางพ้นทุกข์ ที่ถูกต้อง..........................ตามครรลอง ของ(พุทธ)ศาสนา

มิมักง่าย ไร้มารยา..............................ไม่ใช่ว่า (แค่)"อย่ายึดมั่น"


    อริยสัจ(๔) ที่ตรัสรู้...............................องค์พระผู้ มีพระภาคนั้น

ใช้เวลา ประพฤติพรหมจรรย์.................อย่างบากบั่น นาน ๖ ปี(อายุ ๒๙-๓๕ ปี)


    ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.......................หัวข้อหลัก อริยสัจ๔

อริยมรรค หลักวิธี................................๘ ข้อมี ตามธรรมวินัย

 

    ครอบคลุมให้ ใช้ชีวิต(เกิดจนตาย).........อย่างสัมฤทธิ์ วินิจฉัย

หลักครบถ้วน ล้วนนำไป.......................ช่วยทำให้ (ผู้ปฏิบัติ)ได้พ้นทุกข์


    (จง)ควบคุม กาย ใจ วาจา....................หากปรารถนา จะเป็นสุข

อย่างรอบคอบ อย่าชอบสนุก.................(สนุกแล้ว)พูดปลุกใจ "ไม่ยึดมั่น"(อะไรเป็นอย่างไรก็ช่าง)

 

    ขจัดอกุศล พ้นใจเจต...........................มีขอบเขต ของกิจกรรม์(เจต=สิ่งที่คิด, ใจ.)

รวมเรียกว่า "ประพฤติพรหมจรรย์"..........อย่างแข็งขัน ทุกวันคืน

 

    (บรรลุ)ถึงนิพพาน นั้น(จึง)ไม่ง่าย*.........อย่างที่หลาย คนระรื่น(ว่าทำได้ง่ายๆโดยไม่ยึดมั่นก็พอ)

เปลี่ยนความหมาย กลายเป็นอื่น............(ให้)ไม่ต้องฝืน ความต้องการ(กิเลสตัณหา)


    เพื่อให้คน ส่วนใหญ่(ยอม)รับ................ต้องถึงกับ ลดมาตรฐาน?(แนวคิดแบบพุทธนิกายอื่น)

"ไม่ยึดมั่น=บรรลุนิพพาน"......................เชิญสำราญ ทั่ว(หน้า)กันเทอญฯ


๑๕ เมษายน ๒๕๖๕


*หลายคนอ้างว่า อยากให้คนมานับถือศาสนาพุทธมากๆ

จึงโฆษณาชวนเชื่อไปว่า การบรรลุนิพพานนั่นง่าย แค่...ไม่ยึดมั่น...ก็พอ

ทำแบบนี้มันเป็นการ "โกหก หลอกลวง" คนที่มีศีลธรรมจะไม่ประพฤติ.


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

วิภังคสูตร
อริยมรรค ๘
[๓๓] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง อริยมรรคนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน? ความรู้ในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ. [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน? ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ. [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน? เจตนาเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา. [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณา- *ติบาต อทินนาทาน จากอพรหมจรรย์ นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ. [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการ เลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ. [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะ ให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ. [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้ เรียกว่า สัมมาสติ. [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติย- *ฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น