ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2565

ความไม่ยึดมั่นถือมั่นแบบพระพุทธเจ้า : กลอนคติธรรม


ความไม่ยึดมั่นถือมั่นแบบพระพุทธเจ้า : กลอนคติธรรม


    เรื่องวิธี พ้นทุกข์ มักถูกสอน....................................โดยพวกร้อน วิชา โมหะวิสัย

ไม่ยึดมั่น (ไม่)ถือมั่น พูดกันไป..................................อย่างมั่นใจ ว่ากู รู้ตำรา


    (ความ)ไม่ยึดมั่น (ไม่)ถือมั่น ปาน(แบบ)พระพุทธ.......จะต้องหยุด มีกิเลส เฉทตัณหา(เฉท=การตัด,การขาด)

(เบื่อหน่าย)ปราศจากสุข หรือทุก ข(ะ)เวทนา..............ไร้(การยึดถือ)อัตตา ตัวตน และของตน


    ไม่ยึดมั่น (ไม่)ถือมั่น ธรรม์(สิ่ง)ทั้งปวง......................หมดความห่วง ความหวง ลุล่วงหน

สิ้นหวั่นไหว ไม่สะดุ้ง พลุ่งกระมล..............................อยู่อย่างคน ที่พ้นหลุด เกิด-แก่-(เจ็บ)-ตาย(สงสารวัฏ)


    ไม่ใช่(การ)อยาก ทำอะไร ทำไปเถิด.......................อะไรเกิด จะเลิศล้ำ (หรือ)ความฉิบหาย

ก็แลดู รู้สึก (เป็นสุข)สบายๆ......................................พูด(จา)ง่ายๆ "ไม่ยึดมั่น" สราญรมย์

 

    ไม่ยินดี (ไม่)ยินร้าย =ไม่มี(ความ)อยาก...................ไม่ว่าอยาก(ให้)เป็น (อยากให้)ไม่เป็น เว้น(อยาก)กามสม

จึงจะใช่ (ความ)ไม่ยึดมั่น(ถือมั่น) อันอุดม...................ล่วงวาจา คารม (แบบคน)โง่งมงาย


    ไม่มีทุกข์ แบบพุทธ (ธะ)ศาสนา..............................จงรู้ว่า จะต้อง สุขสลาย(ไม่มีสุขด้วย)

ปราศจากซึ่ง เวทนา(ทั้งหมด) มากล้ำกราย................(จึง)ไม่ใช่เรื่อง ง่ายๆ ไร้ปัญญา

 

    การบรรลุ นิพพาน=อรหันตผล.................................(จะ)มิปรากฏ ในบุคคล (ผู้)ล้นตัณหา

(นิพพาน)ไม่มีเกิด ไม่มีดับ กลับ(กลอก)ไปมา.............ไม่งั้นไม่ เรียกว่า "จบพรหมจรรย์"(สิ้นทุกข์ตลอดไป ไม่ใช่ชั่วครู่ชั่วคราว)

 

    ภาษาโลก ภาษาธรรม ต่างลำดับ.............................ย่อมเหมือนกับ คำว่า "อย่า(ไม่)ยึดมั่น"

ผู้ที่กล้า ประมาท หลักสัทธรรม์.................................(จะ)ไม่มีวัน บรรลุ อริย(ธรรม)เอยฯ


๑๕ เมษายน ๒๕๖๕

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา

[๔๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทแห่งมิคารมารดา (มหาอุบาสิกาวิสาขา ผู้เป็นดังว่ามารดาแห่งมิคารเศรษฐี) ในวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท้าวสักกะ จอมเทพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อ ปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย? [๔๓๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรม ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนี้ ภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรม ทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็น ความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึด มั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับ กิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไป ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่ง จากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐ กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณและหายไปในที่นั้นนั่นเอง.
ท้าวสักกะเข้าไปเยี่ยมพระมหาโมคคัลลานะ
[๔๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ นั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ได้มีความดำริ ว่า ท้าวสักกะนั้นทราบความพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงยินดี หรือว่าไม่ทราบก็ยินดี ถ้ากระไร เราพึงรู้เรื่องท้าวสักกะทราบความพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงยินดี หรือว่า ไม่ทราบแล้วก็ยินดี. ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ ได้หายไปในปราสาทของมิคารมารดา ในวิหารบุพพาราม ปรากฏในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประหนึ่งว่าบุรุษที่กำลังเหยียดแขนทึ่งออกไป หรืองอแขนที่เหยียดเข้ามา ฉะนั้น. สมัยนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ กำลังอิ่มเอิบ พร้อมพรั่ง บำเรออยู่ ด้วยทิพยดนตรีห้าร้อยในสวนดอกบุณฑริกล้วน. ท้าวเธอได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลาน์ มาอยู่แต่ที่ไกล จึงให้หยุดเสียงทิพยดนตรีห้าร้อยไว้ แล้วก็เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลาน์แล้ว กล่าวว่า ข้าแต่พระโมคคัลลาน์ผู้นฤทุกข์ นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้ว นานแล้วท่านได้ทำปริยาย เพื่อจะมาในที่นี้ นิมนต์นั่งเถิด อาสนะนี้แต่งตั้งไว้แล้ว. ท่านพระมหาโมคคัลลาน์นั่งบนอาสนะที่แต่งไว้แล้ว. ส่วนท้าวสักกะจอมเทพ ก็ถืออาสนะต่ำแห่งหนึ่ง นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. [๔๓๖] ท่านพระโมคคัลลาน์ได้ถาม ท้าวสักกะผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกร ท้าวโกสีย์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถึงความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อแก่ท่าน อย่างไร ขอโอกาสเถิด แม้ข้าพเจ้าจักขอมีส่วนเพื่อจะฟังกถานั้น. ท้าวสักกะตรัสว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลาน์ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก ทั้งธุระ ส่วนตัว ทั้งธุระของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ พระภาษิตใดที่ข้าพเจ้าฟังแล้วลืมเสียเร็วพลัน พระ- *ภาษิตนั้น ท่านฟังดี เรียนดี ทำไว้ในใจดี ทรงไว้ดีแล้ว ข้าแต่พระโมคคัลลาน์ เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดาและอสูรได้ประชิดกันแล้ว ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ ข้าพเจ้าชนะเทวาสุรสงครามเสร็จสิ้นแล้ว กลับจากสงครามนั้นแล้ว ให้สร้างเวชยันตปราสาท เวชยันตปราสาทมีร้อยชั้น ในชั้นหนึ่งๆ มีกูฏาคารเจ็ดร้อยๆ ในกูฏาคารแห่งหนึ่งๆ มีนางอัปสร เจ็ดร้อยๆ นางอัปสรผู้หนึ่งๆ มีเทพธิดาผู้บำเรอเจ็ดร้อยๆ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลาน์ ท่านปรารถนา เพื่อจะชมสถานที่น่ารื่นรมย์ แห่งเวชยันตปราสาทหรือไม่? ท่านพระมหาโมคคัลลาน์รับด้วยดุษณีภาพ. พระโมคคัลลาน์ยกย่องเวชยันตปราสาท
พระโมคคัลลาน์ยกย่องเวชยันตปราสาท
[๔๓๗] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเวสวัณมหาราช นิมนต์ท่านพระมหา โมคคัลลาน์ออกหน้าแล้ว ก็เข้าไปยังเวชยันตปราสาท. พวกเทพธิดาผู้บำเรอของท้าวสักกะ เห็น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์มาอยู่แต่ที่ไกล เกรงกลัวละอายอยู่ ก็เข้าสู่ห้องเล็กของตนๆ คล้ายกะว่า หญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวเข้าก็เกรงกลัวละอายอยู่ ฉะนั้น. ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าว เวสวัณมหาราช เมื่อให้ท่านพระมหาโมคคัลลาน์เที่ยวเดินไปในเวชยันตปราสาท ได้ตรัสว่า ข้าแต่ ท่านพระโมคคัลลาน์ ขอท่านจงดูสถานที่น่ารื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้ ขอท่านจงดูสถาน ที่น่ารื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้. ท่านพระมหาโมคคัลลาน์กล่าวว่า สถานที่น่ารื่นรมย์ของท่านท้าวโกสีย์นี้ย่อมงดงาม เหมือน สถานที่ของผู้ที่ได้ทำบุญไว้ในปางก่อน แม้มนุษย์ทั้งหลายเห็นสถานที่น่ารื่นรมย์ไหนๆ เข้าแล้ว กล่าวกันว่า งามจริง ดุจสถานที่น่ารื่นรมย์ของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์. ในขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ได้มีความดำริว่า ท้าวสักกะนี้เป็นผู้ประมาทอยู่มาก นัก ถ้ากระไร เราพึงให้ท้าวสักกะนี้สังเวชเถิด จึงบันดาลอิทธาภิสังขาร เอาหัวแม่เท้ากดเวชยันต ปราสาทเขย่าให้สั่น สะท้าน หวั่นไหว. ทันใดนั้นท้าวสักกะจอมเทพ ท้าวเวสวัณมหาราช และ พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีความประหลาดมหัศจรรย์จิต กล่าวกันว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นี่เป็น ความประหลาดอัศจรรย์ พระสมณะมีฤทธิ์มาก อานุภาพมาก เอาหัวแม่เท้ากดทิพยพิภพ เขย่า ให้สั่น สะท้าน หวั่นไหวได้.
ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น