พลังใจจากพ่อแม่ :
กาพย์ยานี๑๑
๏ เห็นข่าว
เด็กเขลาคิด...............ปลิดชีวิต เพราะผิดหวัง
ไม่ได้
ตามใจดัง..........................หวนความหลัง (คิดถึง)ครั้ง(เรา)เยาว์วัย
๏ เห็นเด็ก
คนอื่นมี(อะไร).............ก็อยากมี อยากจะได้
(แต่)ฐานะ
เรายากไร้....................น้อยนักได้ ดังประสงค์
๏ ยังดี
มีพ่อแม่...........................ผู้ดวงแด แผ่(ความ)มั่นคง
ไม่เคย
พะวักพะวง.......................โศกเศร้าตรง ความขาดแคลน
๏ มุ่งมั่น
สร้างฐานะ......................เพื่อที่จะ มั่งมีแหน
ทุ่มเท
พลังใจ;แทน-.....................ที่จะมา
โศกาเบน
๏ แม่พ่อ
อย่าท้อแท้.....................เศร้าดวงแด ให้ลูกเห็น
สิสร้าง
นิสัยเป็น...........................คนขื่นเข็ญ ลำเค็ญทรวง
๏ สอนลูก
ให้รู้คิด.........................สู้ชีวิต พิชิตล่วง
สิ่งยาก
ลำบากปวง.......................ทะลวงได้ ด้วยใจเรา
๏ ปลุกใจ
ให้เข้มแข็ง.....................ปัญญาแกร่ง ไม่ขลาดเขลา
สุขี
มิซึมเซา................................ร่าเริงเร่า เศร้าทำไม?
๏ สร้างสรรค์
ความหรรษา...............ด้วยบรรดา ของหาได้
ตั้งตา
หาต่อไป.............................ย่อมได้สม ภิรมย์ปอง
๏ พลังใจ
จากพ่อแม่......................สำคัญแท้ เหนือสิ่งผอง
ความคิด
วิจิตรจอง.........................จึงสำเร็จ สมเจตนาฯ
๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
*"สลดนักเรียนสาว ม.5
น้อยใจแม่ไม่มีเงินให้ติวสอบเข้าแพทย์ผูกคอดับ" กลายเป็นพาดหัวข่าวชวนสลดใจไปทั้งประเทศเมื่อเด็กคนหนึ่งตั้งใจแน่วแน่อยากจะเข้าเรียนคณะแพทย์
แต่ด้วยค่าติวที่แพงมหาโหดกว่าครึ่งแสน
ลำพังผู้เป็นแม่ที่เป็นแค่พนักงานกินเงินเดินจึงมีไม่เงินให้ลูกสาวไปติวแพทย์
นำไปสู่ข้อความโพสต์เฟซบุ๊กเชิงน้อยใจ "ทำไมแม่ไม่เคยเข้าใจ"
ก่อนตัดสินใจคิดสั้นผูกคอตายในเวลาต่อมา...
จาก <http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000115274>
“ขณะนี้สังคมไทยเกิดความเข้าใจผิดว่า
จะต้องทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยทำให้เด็กเก่งและฉลาด
จึงไปเน้นให้เด็กวัย 0 - 6 ขวบ ในเรื่องของการอ่านออกเขียนได้
ซึ่งสุดท้ายจะไปกดทับทักษะด้านอื่นๆ ที่จำเป็น ทั้งความคิดสร้างสรรค์
การคิดวิเคราะห์ วุฒิภาวะทางอารมณ์ และการแก้ไขปัญหา
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีคุณภาพ
โดยมีการวิจัยทางด้านจิตวิทยาที่ชัดเจนแล้วว่า การพัฒนาทักษะสมองด้าน EF
เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต จะทำให้เด็กเป็นคนเก่ง ฉลาด และดีอีกด้วย ดังนั้น
ในช่วง 0 - 6 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงในการสร้างและพัฒนาสมองของเด็กได้ดีที่สุด
จึงควรเน้นการดูแลเด็กด้วยการให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ
เพื่อให้เด็กมีโอกาสฝึกคิด วางแผน แก้ไขปัญหา สำหรับผู้ปกครอง ครู
หรือพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องมีการปรับตัวในการดูแลเด็ก ต้องปล่อยให้เด็กได้ออกไปเรียนรู้ตามธรรมชาติของเขา
อยากเล่นอะไรอยากทำอะไร
แล้วทำหน้าที่คอยดูพัฒนาการของเด็กว่าด้านไหนบกพร่องแล้วคอยช่วยเหลือกระตุ้นพัฒนาการ
และต้องสอนให้เด็กรู้จักคิดเป็น รอคอยเป็น แก้ปัญหาเป็น
จึงจะช่วยกระตุ้นทักษะสมองด้านดังกล่าวได้”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น