ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ความโศกเศร้าเสียใจ : โคลงสี่สุภาพ



ความโศกเศร้าเสียใจ โคลงสี่สุภาพ

 

๑. ลูกแมวที่ถูกทิ้ง(วัด)..................................เดือนธันวาฯ

ต่างทะยอยอาพาธ์.................................ป่วยไข้

บางตัวไม่ออกมา...................................จากที่ซ่อน

เอาอาหารมาให้....................................(ตัวที่ออกมา)กินน้อยลงเหลือฯ

 

๒. (แมวต้นปี)ฉีดวัคซีน(รวม)ไปแล้ว................ยังตาย

เสียเงินไม่เสียดาย.................................จิตพร้อม

แต่ชีวี(ลูกแมว)ที่วางวาย.........................ลาลับ

ถึงกับทำหทัยน้อม.................................โศกเศร้าเสียใจฯ

 

๓. รันทดไปก็ไร้...........................................ผลดี

(รังแต่)ก่ออกุศลมากมี............................ทุกข์ท้อ

(คิดถึง)ธรรมชาติของชีวี.........................(เมื่อ)เกิด-(ย่อม)ดับ

ยอมรับอย่าตัดพ้อ..................................ต่อต้านความเป็นจริงฯ

 

๔. สิ่งมีชีวิตต่างอยู่ใต้....................................กฏแห่งกรรม

ใครเล่าอาจครอบงำ................................เหนือ(กฎ)ได้?

เมื่อมีเวรเก่ากรรม...................................ทำก่อน

ผลห่อนสูญสาบไร้..................................ตามให้คืนสนองฯ

 

๕. โลกมิเคยสอดคล้อง..................................สรวงสวรรค์

ความวิโยคโศกศัลย์................................เคียงเคล้า

ขนาดในความฝัน...................................ยัง(มีเรื่อง)สลด

ความรันทดคดเร้า..................................โศกเศร้าเสียใจฯ

 

๖. อย่าไปมองโลกเพี้ยง(เพียงแค่)....................แง่ดี

สอดส่องครรลองมี..................................รอบด้าน(มองแง่ร้ายด้วย)

ธรรมชาติของชีวี....................................เกิด-แก่-

แลเจ็บ-ตาย ใครต้าน..............................กฎได้กระนั้นหรือ?

 

๗. ความสัตย์ซื่อ(ชาตินี้)ไป่สร้าง......................(ความ)สำเร็จ(สมใจ)

(ความ)อุตสาหะ(ชาตินี้)มิเผด็จ.................ผลได้(ตามที่หวัง)

พระอรหันต์บรรลุเสร็จ.............................มรรคผล(ชาตินี้)

หาก(ต้อง)ผจญกรรม(เมื่ออดีตชาติ)ทำไว้....แม้แต่พระพุทธองค์ฯ*

 

๘. ทรงจำสัจธรรม-ใช้....................................ประจญ

ชะตากรรมของตน..................................ภาย(ภาค)หน้า

สิ่งประเสริฐคือ(ความ)อดทน.....................เป็นตบะ

ช่วยเอาชนะความอ่อนล้า.........................โศกเศร้าเสียใจ(ได้)ฯ


๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๔


*พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]

ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ
ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า
(พระอานนทเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วย บุพกรรมเก่า จึงกล่าวว่า) [๖๔] ณ พื้นศิลาที่น่ารื่นรมย์ ใกล้สระอโนดาต โชติช่วงด้วยรัตนะต่างๆ ในละแวกป่ามีดอกไม้มีกลิ่นหอมนานาชนิด [๖๕] พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีหมู่ภิกษุหมู่ใหญ่ห้อมล้อม ประทับนั่งที่ศิลาอาสน์นั้น ทรงพยากรณ์บุพกรรมของพระองค์ว่า [๖๖] ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงฟังกรรมของเรา เราเห็นภิกษุ ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร จึงได้ถวายผ้าเก่าผืนหนึ่ง [ก] ในกาลนั้น ข้าพเจ้าปรารถนาการตรัสรู้ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ผลของการถวายผ้าเก่าให้ผลในความเป็นพระพุทธเจ้า [ข] ในชาติปางก่อน เราเกิดเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่น จึงห้ามมันไว้ [ค] ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๕๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค]

๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ

[๖๗] ในชาติอื่นๆ ในปางก่อน เราเกิดเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้ามีนามว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร [๖๘] ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงได้เวียนว่ายตายเกิด อยู่ในนรกเป็นเวลานาน เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี [๖๙] ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น ในภพสุดท้ายนี้ เราได้รับการกล่าวตู่ เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ [๗๐] เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน [๗๑] เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานานถึง ๑๐๐,๐๐๐ ปี ครั้นได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็ได้รับการกล่าวตู่มาก [๗๒] ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น นางจิญจมาณวิกาจึงมากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริงท่ามกลางหมู่ชน [๗๓] เราเกิดเป็นพราหมณ์ ผู้มีสุตะซึ่งประชาชนสักการบูชา ได้สอนมนตร์ให้มาณพประมาณ ๕๐๐ คน ในป่าใหญ่ [๗๔] เราได้เห็นฤๅษีผู้น่าเกรงกลัว ผู้ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มายังสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤๅษีผู้ไม่ประทุษร้ายใคร [๗๕] ครั้งนั้น เราได้บอกพวกศิษย์ว่า ฤๅษีตนนี้มักบริโภคกามคุณ เพียงเราบอกเท่านั้น พวกมาณพก็พลอยเชื่อ [๗๖] ตั้งแต่นั้นมา พวกมาณพทั้งหมด ไปเที่ยวหาอาหารในตระกูลทั้งหลาย พากันบอกประชาชนว่า ฤๅษีตนนี้มักบริโภคกามคุณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๕๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค]

๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ

[๗๗] ด้วยผลกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ได้รับการกล่าวตู่ เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ [๗๘] ในชาติก่อน เราได้ฆ่าน้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่งทรัพย์ จับโยนลงซอกภูเขา แล้วโยนหินทับไว้ [๗๙] ด้วยผลกรรมนั้น พระเทวทัตจึงผลักก้อนหินกลิ้งลงมา สะเก็ดหินกระทบนิ้วหัวแม่เท้าของเรา (จนห้อเลือด) [๘๐] ในชาติก่อน เรายังเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงหว่านก้อนกรวดไว้ที่หนทาง [๘๑] ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ พระเทวทัตจึงชักชวนนักแม่นธนู ผู้เป็นนักฆ่า เพื่อฆ่าเรา [๘๒] ในชาติก่อน เราเป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างไล่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นพระมุนีสูงสุด ซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต [๘๓] ด้วยผลกรรมนั้น ช้างนาฬาคีรีเชือกดุร้าย จึงวิ่งไล่เราในกรุงราชคฤห์อันประเสริฐ [๘๔] ในชาติก่อน เราเป็นทหารราบ ได้ใช้หอกฆ่าคนจำนวนมาก ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงถูกไฟไหม้อย่างร้อนแรงในนรก [๘๕] ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่ ในบัดนี้ ไฟนั้นยังตามมา ไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราทุกแห่ง เพราะกรรมยังไม่สิ้นไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๕๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค]

๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ

[๘๖] ในชาติก่อน เราเป็นเด็กเล็กลูกของชาวประมง อาศัยอยู่ในเกวัฏฏคาม เห็นชาวประมงฆ่าปลาแล้วเกิดความโสมนัส [๘๗] ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงปวดศีรษะ ในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกฆ่า คราวที่พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่า [๘๘] เราได้ด่าบริภาษเหล่าสาวกในศาสนา ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะด้วยคำว่า ท่านทั้งหลายจงขบเคี้ยว จงฉันแต่ข้าวเหนียว อย่าได้ฉันข้าวสาลีเลย [๘๙] ด้วยผลกรรมนั้น เรารับนิมนต์พราหมณ์ อยู่จำพรรษาในเมืองเวรัญชา ได้ฉันแต่ข้าวเหนียว ตลอด ๓ เดือน [๙๐] ในชาติก่อน เมื่อนักมวยกำลังชกกัน เราได้กันบุตรชายนักมวยปล้ำไว้ ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงเกิดความทุกข์ที่สันหลัง(ปวดหลัง) [๙๑] ในชาติก่อน เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้ลูกชายเศรษฐี(ถึงแก่ความตาย) ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงป่วยเป็นโรคปักขันทิกาพาธ [๙๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าชื่อว่าโชติปาละ ได้กล่าวกับพระสุคตพระนามว่ากัสสปะ ว่า การตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์จักมีมาแต่ที่ไหน การตรัสรู้หาได้แสนยาก [๙๓] ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงได้บำเพ็ญทุกรกิริยานานถึง ๖ ปี ต่อจากนั้น จึงได้บรรลุพระโพธิญาณที่ตำบลอุรุเวลา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๕๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค]

รวมอปทานที่มีในวรรค

[๙๔] แต่ว่า เราก็มิได้บรรลุพระโพธิญาณที่สูงสุดด้วยทางนี้ เราถูกกรรมในปางก่อนตักเตือนแล้ว จึงแสวงหา(โพธิญาณ)ผิดทาง [๙๕] เราสิ้นบาปสิ้นบุญแล้ว ปราศจากความเร่าร้อนทุกอย่าง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพาน [๙๖] พระพุทธชินเจ้าได้ทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว ทรงพยากรณ์โดยมุ่งหวังประโยชน์สำหรับหมู่ภิกษุ ที่ใกล้สระใหญ่ชื่ออโนดาต ด้วยประการฉะนี้แล ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงภาษิตธรรมบรรยายพุทธาปทาน ชื่อปุพพ- กัมมปิโลติ ซึ่งเป็นบุพจริตของพระองค์ ด้วยประการฉะนี้แล
พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติที่ ๑๐ จบ
อัมพฏผลวรรคที่ ๓๙ จบบริบูรณ์
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัมพฏผลทายกเถราปทาน ๒. ลพุชทายกเถราปทาน ๓. อุทุมพรผลทายกเถราปทาน ๔. ปิลักขผลทายกเถราปทาน ๕. ผารุสผลทายกเถราปทาน ๖. วัลลิผลทายกเถราปทาน ๗. กทลิผลทายกเถราปทาน ๘. ปนสผลทายกเถราปทาน ๙. โสณโกฏิวีสเถราปทาน ๑๐. พุทธาปทานชื่อว่าปุพพกัมมปิโลติ บัณฑิตทั้งหลายนับได้ ๙๑ คาถา
ภาณวารที่ ๑๔ จบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น