คนไม่มีตัวตน : กลอนคติสอนใจ
๏ "คนไม่มี ตัวตน"................................คือคนที่ มิสำคัญ
อยู่หรือไป ไม่ต่างกัน.......................สังคมนั้น มิหันหา
แม้ว่าจะ ทำอะไร............................ถูกเมิน-ไม่ ให้ราคา
สร้างระทม สมญา...........................ด้อยคุณค่า น่าชิงชัง
๏ (คำนี้)ต่ำก็แต่ ค่านิยม.......................สังคมโลกย์ เท่านั้น
(เพราะ)อยากเป็นคน สำคัญ..............(ลาภ)ยศ-สรรเสริญ(สุข) เพลิดเพลินหวัง
แต่กับพุทธ (ธะ)ศาสนา....................มิโหยหา ละล้าละลัง
เห็น(เป็น)แค่ "โลก (กะ)ธรรม" ตั้ง......ยับยั้งใจ มิใหลหลง
๏ "ธรรมทั้งปวง (เป็น)อนัตตา"................ไร้อัตตา ตัวตน
ปฏิเสธ เหตุผล...............................ที่ผู้คน ใคร่ประสงค์(โลกธรรม)
ไม่ยึดมั่น ถือมั่น..............................ไม่ต้องการ ตัณหาคง
กุศลธรรม จำนง..............................จงปลดปลิด อวิชชา
๏ แม้ไม่มี ตัวตน(อนัตตา).......................(แต่มีสำนึก)เกิดเป็นคน กุศลสร้าง
เมตตาล้น คนรอบข้าง.......................(คุณ)ประโยชน์ต่าง(ๆ) แสวงหา
ขยันหมั่นเพียร เรียนรู้........................ย่อมเป็นผู้ มีปัญญา
มาก(ความ)สามารถ พัฒนา................ใครจะกล้า ด้อยค่าคุณ?
๏ (แม้)ไม่ยึดถือ โลกธรรม.......................(แต่)ความสำคัญ มีมั่นคง
(ได้รับ)ความสนใจ ไม่ประสงค์.............(แต่)ความสูงส่ง คงเนื่องหนุน
คนไม่เห็น แก่ตัว...............................ไม่ทำชั่ว หัวใจบุญ
เปี่ยมเมตตา การุญ............................ย่อมจรูญ สุนทรีย์
๏ อาจมีแค่ คนพาล................................คิดสามานย์ ริษยา
จะใส่ร้าย ป้ายวาจา............................ให้ด้อย(คุณ)ค่า ทุราศี
ผู้รู้ ผู้เข้าใจ(กฎแห่งกรรม)...................เชิญทำไป บ่ใยดี
ใครทำดี ย่อมได้ดี.............................ใครอัปรีย์ ย่อมวิบัติฯ
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๖
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อาพาธสูตร [๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมา- *นนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้ มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์ อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้ โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับ โดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนว สัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรต สัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑ อานาปานัสสติ ๑ ฯ ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่ เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วย ประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็น อนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ..............ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น