ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สุญญธรรม ความว่างเปล่า : กลอนคติธรรม



สุญญธรรม ความว่างเปล่า กลอนคติธรรม

    ทุกวันสิ พานพบ.....................................ความสงบ ภายใน
หากดูแล หัวใจ................................มิอ่อนไหว-ไหวหวั่น
แม้ว่าจะ เกิดอะไร.............................อย่าผูก(พัน)ใจ ไปกับมัน
จิตของเรา เท่านั้น.............................คอยสำคัญ สัญญี

    เสมือนว่า รักษาทรัพย์..............................มีค่านับ อนันต์
อย่างบรรจง คงมั่น............................คู่ชีวัน วิถี
หรือหญิงสาว เพราพักตร์....................ผู้หลงรัก อัญมณี
พึงยึดถือ ดวงฤดี...............................ที่มีค่า อัศจรรย์

    บ่คิดถึง บุคคล........................................แม้แต่ตน ก็ไร้
เป็นปรมัตถ์ ปัจจัย..............................ให้(เกิดความ)วิเวก เสกสรรค์
พิบุล สุญญา.....................................ทรงพลา อนันต์
มีประโยขน์ โรจน์ปัน...........................แด่ชีวัน ทันที

    คิดถึง กิจกรรม........................................ที่ต้องทำ เท่านั้น
สิ่งรอบข้าง ช่างมัน.............................จิตมุ่งมั่น เพียง(เท่า)นี้
ประสิทธิ์ จิตธรรม...............................ดำรงไว้ ให้ดี
สิ่งอื่นใด ไม่มี....................................(ย่อม)เกิดสมาธิ พีใจ

    บ่ได้ยิน ได้เห็น.......................................เป็นสัญญาน์ สมาธิ
(คือสิ่ง)ธรรมดา ปกติ...........................ของฤดี วิสัย
พบอนันต์ อเนก..................................ทั้งเด็กเล็ก แลผู้ใหญ่
ตอนตั้งอก ตั้งใจ.................................ทำอะไร จริงจัง

    (เป็นวิธี)ปฏิบัติ ธรรมา...............................อย่างปรีดา ปราโมทย์
สุญญา ประโยชน์................................โลภ-หลง-โกรธ ยับยั้ง
อุปธิ วิเวก..........................................สิสรรค์เสก ได้ดัง-
จินตนา การหวัง..................................จงตั้งจิต สุญญเทอญฯ

๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๖

สุญ, สุญ-, สุญญ-
/สุน, สุนยะ-/
คำวิเศษณ์ แปลว่า ว่างเปล่า.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
สุญญสูตร
[๑๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าโลกว่างเปล่าๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่างเปล่า จากตนหรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า อะไรเล่าว่างเปล่า จากตนหรือจากของๆ ตน จักษุแลว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน รูป ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน จักษุวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน จักษุสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่างเปล่าจากตน หรือจากของๆ ตน ฯลฯ ใจว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน ธรรมารมณ์ ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน มโนวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน มโนสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างเปล่าจากตนหรือจาก ของๆ ตน ดูกรอานนท์ เพราะว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น