ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ดำเนินชีวีอย่างมีประโยชน์ : กลอนจรรโลงใจ




ดำเนินชีวีอย่างมีประโยชน์ กลอนจรรโลงใจ

    ยามเช้า หนาวเย็น....................แต่เป็น ประโยชน์
เล่นกีฬา(เบาๆ) ปราโมทย์.....รุ่งโรจน์ สุขสันติ์
ร่างกาย แข็งแรง.................พร้อมพลิกแพลง ชีวัน
ให้ก้าว เท่าทัน...................สถานการณ์ บัญชา(ควบคุมสถานการณ์ที่เผชิญได้)

    ดำเนิน ชีวี..............................อย่างมี ประโยชน์
ทางใด ให้โทษ...................เว้นโปรด ปานหา
มั่นคง (ใน)ความดี...............มีสติ ปัญญา
มุ่งมาด พัฒนา....................จนกว่า (ชีวา)จะมลาย

    รู้จัก (ความ)สุจริต....................ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี
(เป็น)เบื้องต้น  วิถี................ชีวิต วิจิตรหมาย
รู้กฎ แห่งกรรม.....................สำคัญ อันตราย(ผลของบาปกรรม)
อย่ามัว (ทำสิ่ง)ชั่วร้าย...........บ่ายหน้า หาความดี

    รักษา จิตใจ...........................ให้ บ ริสุทธิ์
สิ่งประเสริฐ (จะ)เกิดผุด.........ประดุจ รังสี
(ของ)อาทิตย์ อุทัย...............แสงใส สว่างมี(อุทัย=การขึ้น, การโผล่ขึ้น พระอาทิตย์ แรกขึ้น)
ขับไล่ ราคี..........................พ้นฤดี ปรีดา

    (การ)มิเห็น แก่ตัว...................อย่ามัว เห็นแก่ได้
ยังผล ดลให้........................ไม่ทำบาป หยาบช้า
อบรม พรหมวิหาร(๔)*...........(ให้)เป็นพื้นฐาน อุรา
ที่ดี มีคุณค่า(ประโยชน์)..........แด่อัตตา(ตน)-สังคม

    ดูแล กาย-ใจ..........................ให้เป็นคน เข้มแข็ง
(การมี)ชีวี ต้องมี(เรี่ยว)แรง......(ความ)แข็งแกร่ง สะสม
(เพื่อ)ฝ่าฟัน ภยันตราย...........(ที่มี)มากมาย ไคลทุกข์ตรม
ขจัดความ โง่งม....................ค่านิยม มายา(ไร้สาระ,ไม่มีประโยชน์)

๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๖

*พรหมวิหาร 4 หรือ พรหมวิหารธรรม เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก่
  1. เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า
  2. กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์
  3. มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง ประกอบด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป
  4. อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น