ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2563

ความสันโดษ : กลอนเปล่า




ความสันโดษ : กลอนเปล่า

       พยายามแล้ว
ทำได้แค่ไหน?
อุตสาหะแล้ว
หาได้เท่าไร?
ก็พอใจเพียงแค่นั้น

      คือความหมายของ
"ความสันโดษ"
ธรรมที่มีประโยชน์นับอนันต์
ทำให้รู้สึกสุขสันติ์
ทุกวันคืนรื่นภิรมย์

      ทรัพยากรบนโลกมีจำกัด
ความสามารถของตนอาจไม่สม(ใจ)
กิเลส-ตัณหา-ค่านิยม
ละโมบไม่ยั้งสั่งสมมี

      การเป็นผู้ไม่รู้(จัก)คิด
เข้าใจผิดจิตวิถี
กระเสือกกระสนจนชีวี
ไม่มีสุขสันติ์-ปัญญา

      มิเพียงพาชีวา(เดือด)ร้อน
(ทุกคนร่วมกัน)ยังสะท้อนถึงโลกหล้า
เกิดวิกฤติการณ์ปัญหา
ตกระกำตำตาทั่วหน้าไป

      (จง)รู้จักการสันโดษเถิด
เป็นทรัพย์ประเสริฐเลิศพิสัย
นำมาซึ่งความพึงพอใจ
ให้กับทุกคนบนทุกสถานฯ

๑๓ เมษายน ๒๕๖๓

*
ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง
ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง
ญาติทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
บุคคลผู้ปีติในธรรม เมื่อดื่มรส ดื่มรสอันเกิดแต่วิเวกและรสแห่งความสงบแล้ว ย่อมไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป
การเห็นพระอริยะเจ้าทั้งหลายเป็นความดี การอยู่ร่วมกับพระอริยะเจ้าเหล่านั้น เป็นสุขทุกเมื่อ
บุคคลพึงเป็นผู้มีความสุขเป็นนิตย์ได้ เพราะการไม่เห็นคนพาลทั้งหลาย
ด้วยว่าบุคคลผู้สมคบกับคนพาลเที่ยวไป ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ เหมือนการอยู่ร่วมกับศัตรู
ส่วนนักปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงคบบุคคลนั้นผู้เป็นนักปราชญ์ มีปัญญา เป็นพหูสูต มีปกตินำธุระไป มีวัตร เป็นพระอริยะ เป็นสัปบุรุษ ผู้มีปัญญาดีเช่นนั้น
เหมือนพระจันทร์คบครองแห่งนักษัตร ฉะนั้น ฯ
จาก <http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=799&w=%BC%D9%E9%AA%B9%D0%C2%E8%CD%C1%A1%E8%CD%E0%C7%C3_%BC%D9%E9%E1%BE%E9%C2%E8%CD%C1%E0%BB%E7%B9%B7%D8%A1%A2%EC>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น