การตลาดศาสนา : กลอนสะท้อนวงการศาสนา
๏ การตลาด
ศาสนา.............................................พุทธพา ญิชย์พิษฐาน
มิได้มุ่ง
หมายนิพพาน......................................ลาภ-สักการ พล่านเพลินจินต์
๏ เน้นอุปสงค์
สังคมโลกย์.....................................(ความต้องการของ)ผู้บริโภค ยกถวิล
ให้บริการ(ต่างๆนานา)
(เพื่อ)ดาลชีวิน(ตน)...........อยู่ดี-กิน ดีปรีดา
๏ กิเลสตัณหา
มิซาสร่าง.......................................แค่"พุทธ"พราง
(ยก)ขึ้นบังหน้า
กิจดำเนิน
ด้วยเงินตรา(รายจ่าย).........................(จึงต้องออก)อุบายหา(รายได้)
เป็นประจำ
๏ ทั้งมิใช่
และไสยศาสตร์.....................................(ใช้วิถีทาง)การตลาด ประกาศล้ำ
หากเปรียบเทียบ
พฤติกรรม...............................ล้วนก้าวข้าม
ธรรมวินัย(ที่ไม่รับ-ใช้เงินฯลฯ)
๏ เพียงเปลือกนอก
บอกเป็น"พุทธ"........................ความพิสุทธิ์ หามีไม่
กิจวัตรแล
แปรเปลี่ยนไป...................................เพื่อรับใช้(สังคม)* ไร้เกี่ยงงอน(ทำกิจกรรมในแบบที่สังคมชอบ เช่น ร้องเพลง บรรเลงดนตรีฯลฯ ซึ่งผิดศีลของพระเณร)
๏ แม้ศึกษา
พระไตรปิฎก......................................ก็เพื่อยก มาสั่งสอน(คนอื่น)
แต่ตัวข้า
มิอาทร.............................................ขาดสังวร ทั้งกาย-ใจ
๏ อริยสัจ
ฮึดฮัดท่อง...........................................สิสอดส่อง ประพฤติ(ตาม)ไม่
สิ่งใดที่(ทำแล้ว)
มี(คน)เลื่อมใส.........................มุ่งทำไป ไม่ครณา(แม้ว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์)
๏ เน้นปริมาณ**
และการตลาด..............................(เป็น)วิปลาส พุทธศาสนา
หวัง(สังคม)เจือจุน
หนุนเงินตรา..........................สมตัณหา โลภะเอยฯ
๒๒ เมษายน ๒๕๖๓
*
ต้องเข้าใจก่อนว่า
พระพุทธเจ้าประกาศศาสนาพุทธ ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อมารับใช้สังคม เพื่อให้บริการสังคม หรือสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ-การเมือง
พระพุทธเจ้าประกาศศาสนาพุทธ ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อมารับใช้สังคม เพื่อให้บริการสังคม หรือสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ-การเมือง
เป้าหมายของศาสนาพุทธ
คือ เพื่อพาคน บรรลุนิพพาน ความพ้นทุกข์ ความหลุดพ้นวัฏสงสาร ฯลฯ
ไม่มีเป้าหมายทางโลก
ไม่มีเป้าหมายทางโลก
หลักธรรมวินัย
ล้วนสนับสนุนให้มุ่งไปสู่เป้าหมายทางธรรม ไม่ใช่ทางโลก
ดังนั้น
การที่มีใครบางคน ชอบเรียกร้องให้ศาสนาพุทธต้องให้บริการสังคม-แก้ปัญหาสังคม-สังคมสงเคราะห์ สร้างสรรค์กิจกรรมที่สังคมต้องการ เช่น ด้านการศึกษา-สังคม-เศรษฐกิจ-การเมือง
จึงเป็นความคิดของคนที่ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ ในธุระ-หน้าที่ของศาสนาพุทธ-กิจของสงฆ์
พิสูจน์ให้เห็นได้จากคำสอนของพระพุทธเจ้า
ที่ห้ามพระสงฆ์พูดคุยเรื่องอื่นๆนอกจากธรรมวินัย ทรงเรียกเรื่องอื่นๆเหล่านั้นว่าเป็น "ดิรัจฉานกถา"
ที่ห้ามพระสงฆ์พูดคุยเรื่องอื่นๆนอกจากธรรมวินัย ทรงเรียกเรื่องอื่นๆเหล่านั้นว่าเป็น "ดิรัจฉานกถา"
".....ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การที่เธอทั้งหลายสนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องความเจริญและความเสื่อมนี้ ฯลฯ ไม่สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาเลย..."
From
<https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=3064&Z=3116>
**
เน้นปริมาณ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับจำนวน เช่น จำนวนพระเณร จำนวนสาขาของวัด จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ยอดเงินบริจาค ฯลฯ
โดยไม่ใส่ใจเรื่องประสิทธิภาพ-ประสิทธผลของกิจกรรม เพราะตัวผู้ดำเนินการเองก็ไม่มีคุณภาพ ทำอะไรก็ไร้ประสิทธิผล สักแต่ว่าได้ประกาศว่า ได้ประกอบกิจกรรม ทำไปพอเป็นพิธี พอให้พูดได้ว่ามีผลงาน ซึ่งมักเป็นผลงานทางโลก-ทางสังคม
เนื่องจากปกติก็ไม่ได้สนใจจะปฏิบัติตามธรรมวินัยอยู่แล้ว
มีไม่น้อยที่ประพฤตินอกรีต ทำกิจกรรมที่ไม่สมควรแก่ความเป็นพระ หรือแม้แต่สถานะพุทธศาสนิกชน
เน้นปริมาณ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับจำนวน เช่น จำนวนพระเณร จำนวนสาขาของวัด จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ยอดเงินบริจาค ฯลฯ
โดยไม่ใส่ใจเรื่องประสิทธิภาพ-ประสิทธผลของกิจกรรม เพราะตัวผู้ดำเนินการเองก็ไม่มีคุณภาพ ทำอะไรก็ไร้ประสิทธิผล สักแต่ว่าได้ประกาศว่า ได้ประกอบกิจกรรม ทำไปพอเป็นพิธี พอให้พูดได้ว่ามีผลงาน ซึ่งมักเป็นผลงานทางโลก-ทางสังคม
เนื่องจากปกติก็ไม่ได้สนใจจะปฏิบัติตามธรรมวินัยอยู่แล้ว
มีไม่น้อยที่ประพฤตินอกรีต ทำกิจกรรมที่ไม่สมควรแก่ความเป็นพระ หรือแม้แต่สถานะพุทธศาสนิกชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น