วันที่ 26 เม.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.พ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะโฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ตอบคำถาม.......
เมื่อถามว่าในเรื่องชีวิตวิถีใหม่ (new nomal)
ขณะนี้มีบางฝ่ายเห็นว่าเมื่อสถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดีก็น่าจะกลับไปใช้วิถีชีวิตแบบเดิม
เพราะการใช้ชีวิตวิถีใหม่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบการทำมาหากินยากลำบาก
นพ.ทวีศีลป์ กล่าวว่า เข้าใจว่าทุกคนอยากกลับไปใช้วิถีปกติ มีการค้าขาย
มีการเดินทางอย่างปกติ
แต่ที่ยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้
เพราะต้องเข้าใจ สภาวการณ์การเกิดโรคนี้ซึ่งไวรัสโควิด-19 เพิ่งเกิดมาในช่วง 3-4
เดือน และเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ แพร่กระจายผ่านตัวไวรัสที่ผ่านทางน้ำมูก
น้ำลาย คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อ คือคนในช่วงวัยทำงานและไม่มีอาการ เราจึงไม่รู้ว่าใครติดเชื้อบ้าง
และยังเดินอยู่ในสังคมตรงไหน
ถ้ากลับไปใช้ชีวิตปกติก็จะมีโอกาสติดเชื้อจากคนเหล่านี้ได้มาก เมื่อติดขึ้นมาก็จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้อีก
แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะเจอแค่หลักสิบ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะคุมได้
หรือจะกลายเป็นศูนย์ (0) และถ้าเมื่อเป็น 0 ก็ต้องดูว่าจะนานเท่าไหร่
และไม่ใช่แค่จะเป็นตัวเลขแค่ 0 บ้านเราอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องให้ตัวเลขเป็น 0
ทั้งโลก ถึงจะเกิดความมั่นใจได้
“ดังนั้น แม้วันนี้บ้านเราจะคุมตัวเลขได้ดี แต่รอบๆ
บ้านเราและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตัวเลขยังพุ่งสูงขึ้น
แสดงว่าเชื้อในอากาศยังมีอยู่เต็มไปหมด ถ้าเรายังใช้ชีวิตวิถีเดิม
เดินทางไปท่องเที่ยว ไปซื้อของเหมือนเดิม ก็มีโอกาสจะกลับมาระบาดได้ใหม่
สิ่งที่เราลงทุนไปเมื่อหลายเดือนก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลยกลายเป็นศูนย์
จึงต้องชี้แจงว่าการจะกลับไปสู่ภาวะปกติต้องใช้ระยะเวลาอีกยาวพอสมควร
สิ่งที่จะกลับไปปกติได้ คือ
1.จะต้องมียารักษา
เมื่อมียารักษาก็จะคุมเชื้อโรคได้ โดยต้องเป็นการรักษาให้หาย
ไม่ใช่แค่การระงับยับยั้งไม่ให้โรคเจริญเติบโต หรือต้านไว้เฉยๆ นั้น ไม่พอ
ยาต้านไวรัสไม่ใช่การรักษาไวรัส เป็นการไม่ให้โรคกำเริบเท่านั้น
ไม่ใช่เป็นการรักษาให้หายทั้งหมด
2.เราจะต้องมีวัคซีน
ซึ่งเมื่อไหร่ที่มีวัคซีนก็จะตอบได้ว่าการแพร่ระบาดของโรคก็จะจบได้ตอนนั้น
แต่กว่าจะได้ตรงนี้ ข้อมูลล่าสุดก็คืออาจจะเป็นต้นปีหน้า
หมายความว่าเราต้องใช้เวลาระหว่างนี้ไปถึงต้นปีหน้าในการควบคุมโรคโดยการควบคุมตัวเราเองให้ได้
ปรับชุดพฤติกรรมของเราในตอนนี้ให้ได้ เพื่อที่จะไม่เอาเชื้อโรคมาอยู่ที่ตัวเรา
หรือเอาเชื้อโรคจากตัวเราไปอยู่ที่คนอื่น
จึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้
ยืนยันหลายประเทศทั่วโลกยังไม่ยินยอมในช่วงตอนแรกที่จะปรับตัวเข้าจะเห็นตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่นและหลักแสนขึ้นมาทันที
แต่ปัจจุบันหลายประเทศจึงต้องปรับตัวมาและออกมาตรการ คล้ายๆ กับสิ่งที่ไทยได้ทำ
ซึ่งเป็นการออกมาตรการมาตั้งแต่แรก ทำให้ตัวเลขของเราไม่สูง แต่ถ้าออกช้าก็คงไม่แตกต่างไปจากคนอื่น
เช่นเดียวกันถึงแม้เราจะออกมาตรการได้เร็วและยกเลิกเร็ว
ก็จะกลับไปเป็นตัวเลขเหมือนประเทศอื่นๆ ที่เกิดขึ้น คือการ์ดตกเมื่อไหร่
สิ่งที่ลงทุนมาทั้งหมดจะกลายเป็นศูนย์ทันที”
จาก
<https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_4020711>
*
เป็นคำถามที่ผู้เขียนฝากสื่อไปถามโฆษก ศบค.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น