ความหมายของ"ความไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ" : กาพย์ยานี๑๑
๏ คืนวาน ฉันไปห้าง(ซื้อของ)................................ที่แทบร้าง ไร้ผู้คน
โควิด(19)
วิกฤติดล.....................................แลหลังผล คำสั่งรัฐ(พรก.ฉุกเฉิน)
๏ (เพราะ)ผู้คน
ขยาดกลัว.....................................ติดเชื้อทั่ว ป่วยสาหัส
วิถี
ปฏิบัติ..................................................ชีวาวัตร
ปราดเปลี่ยนใช้
๏ วิกฤติใด
ในโลกา..............................................ฤาแกร่งกล้า เทียมโรคภัย?
ทุกคน
ล้นคิดใคร่........................................กลัวตายเห็น เป็นปฐม
๏ (ความ)ไม่มี
โรคคือลาภ...................................(อัน)ประเสริฐทราบ ทุกสังคม
(แต่)พุทธา
ค่านิยม......................................วิกรมธรรม แผกความหมาย
๏ โรคฤา คือขันธ์๕.............................................ที่เติบกล้า
แล้แตกตาย
(ผู้คน)ยึดมั่น
มุ่งขวนขวาย.............................ให้อายุ มั่นขวัญยืน
๏ ความยึด
มั่นถือมั่น............................................ต่อสังขาร ทุกวันคืน
มิอยาก
ให้เป็นอื่น(วิภวตัณหา).......................อยากระรื่น ชื่นสุขสม(ภวตัณหา)
๏ ตัณหา
อุปาทาน...............................................ดลบันดาล ทุกข์โศกตรม
จงอย่า
อภิรมย์............................................นิยมถือ คือของเรา
๏ คนใด
ไคลคลาได้............................................ย่อมสิ้นไร้
ความโง่เขลา(อวิชา)
โรคสร่าง
ทุกข์บางเบา..................................เข้า(สู่)นิพพาน สันติเอยฯ
๒ เมษายน ๒๕๖๓
*
มาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
หากจะพึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า
‘ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคือนี้’
ท่านนั้นจะพึงรู้ความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้
ท่านก็จะละความพอใจและความยินดีในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
พร้อมกับเกิดดวงตาคือปัญญาขึ้น
อนึ่ง ท่านจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงผิดมานานแล้ว
เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นเฉพาะรูป เฉพาะเวทนา เฉพาะสัญญา
เฉพาะสังขาร และเฉพาะวิญญาณเท่านั้น
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น