ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563

เหมือนสถิตบนสวรรค์ : กลอนจรรโลงใจ




เหมือนอยู่บนสวรรค์ : กลอนจรรโลงใจ

    คือความจริง สิ่งแท้ ที่แต่ละคน....................................มีชีวี พิมล ล้นแผกผัน
บางคน เหมือนอยู่ บนไกวัล....................................สุขสันติ์ บันเทิง เริงภิรมย์(ไกวัล=สวรรค์)

    เหตุผล เพราะว่า (ความ)สุจริต......................................ความคิด จิตใจ สุกใสสม
มีสติ ปัญญา เป็นอาคม..........................................ศีลธรรม จำนง ทรงศรัทธา

    เมตตา ปราณี=พรวิเศษ...............................................ตั้งเจต มุ่งมาด ปรารถนา
ให้ชน เป็นสุข ทุกเวลา..........................................ปราศจาก ทุกขา สวัสดี

    ผู้ใด ได้ดี ยินดีด้วย.....................................................พร้อมอวย ช่วยเหลือ เอื้อวิถี
ช่วยใคร ไม่ได้ ไม่โศกี...........................................(เข้าใจว่า)ต่างคน ต่างมี คติกรรม

    ไม่รอ โชคลาภ วาสนา.................................................(ความ)อุตสาห์ (คือสิ่ง)ประเสริฐ แสนเลิศล้ำ
(ความ)ซื่อตรง ส่งเสริม ประเดิมนำ...........................จุนค้ำ (ชีวิต)จำเริญ ดำเนินไป

    เป็นผู้ ลุล่วง(หมด) ห่วงกังวล.......................................กุศล กลกิจ ครวญคิดใคร่
มิเมา (ทำอะไร)เอาแต่ (ความ)สบายใจ.....................ถูก-ผิด พินิจฉัย ให้(ความ)สำคัญ

    สัจจริง อิงเอน เอาเป็นหลัก..........................................ประจักษ์* วิสัย ไม่เพ้อฝัน
รู้จัก ปล่อยวาง อย่างเท่าทัน...................................ธรรมชาติ ชีวัน อันอนิจจา

    เชื่อ(กฎแห่ง)กรรม ทำดี ย่อมได้ดี..................................ตั้งใจ ทำดี มิกังขา
(มีความหวัง)หลังตาย ได้เกิด เป็นเทวดา...................ณ สวรรค์ ชั้นฟ้า สุขาวดี**ฯ

๑๒ เมษายน ๒๕๖๓

*
ประจักษ์ หมายถึง ปรากฏหรือรู้อย่างแจ้งชัดแก่ตาหรือใจ เช่น เรื่องใด ๆ ที่พิสูจน์จนประจักษ์แล้วก็สมควรเชื่อ หากยังพิสูจน์ให้ประจักษ์ไม่ได้ก็ไม่ควรเชื่อ. 
คำว่า ประจักษ์ มักมีคำว่า แก่ตา หรือ แก่ใจ ตามมา เช่น ความสามารถของนักกีฬาจีนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวโลก. เมื่อพิจารณาธรรมชาติให้ลึกซึ้งก็จะประจักษ์แก่ใจตามคำสอนของพุทธศาสนาว่า สรรพสิ่งมีเกิด ย่อมต้องมีดับไปเป็นธรรมดา. 
คำว่า ประจักษ์ ปรากฏในคำว่า เชิงประจักษ์ ประจักษ์นิยม ประจักษ์พยาน.
คำว่า ประจักษ์ เป็นคำที่ภาษาไทยสร้างขึ้นจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า จกฺษฺ (อ่านว่า จัก-สะ )แปลว่า เห็น สังเกต ปรากฏ แจ้ง.
เมื่อมี ประ ประกอบอยู่ข้างหน้า เป็น ประจักษ์ ใช้ในความหมายว่า ปรากฏหรือรู้อย่างชัดแจ้ง 
From <http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C-%E0%B9%92%E0%B9%94-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%93>

**
กามภพ ภพเป็นกามาวจร หมายถึง ภพของผู้เสพกาม คือ ผู้ที่เกิดในภพนี้ยังรื่นเริงยินดี อยู่ด้วยกามารมณ์หรือกามคุณ ๕ มีด้วยกัน ๑๑ ภูมิ
แบ่งออกเป็น กามทุคติภูมิ คือ อบายภูมิ ๔
กามสุคติภูมิ ๗ ได้แก่ มนุสสภูมิ ๑, เทวภูมิ ๖
ตามคติความเชื่อว่า
สภาวะจิตและเวรกรรม จะนำให้วิญญาณหลังความตาย ไปเกิดในภพที่แตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น