ดราม่าเสียงระฆัง : กาพย์ยานี๑๑
๏ ดราม่า
เสียงระฆัง...........................เกิดโด่งดัง กลางวรรษา
(คน)ส่วนใหญ่
รุมไล่-ด่า.....................หญิงผู้กล้า
มาร้องเรียน(เสียงระฆังทำให้นอนไม่หลับ)
๏ (อ้าง)สร้างมา
สามร้อยปี...................วัดจึงมี สิทธิเสถียร
ห้ามใคร
มาแปลงเปลี่ยน.....................ประเพณี แปลก-วิการ
๏ ตีสี่
ตีระฆัง......................................ต้องทนฟัง บังคมศานติ์
สามสิบ
นาทีนาน...............................ห้ามทัดทาน ลดทอนลง
๏ ครรลอง ต้องคงอยู่...........................ไม่ต้องดู วัตถุประสงค์
(ตีระฆังเพื่อ)เตือนพระ
ตระเตรียมองค์.....ทำวัตรเช้า เท่านั้นเอง
๏ มองข้าม
ธรรมวินัย............................สงบวิสัย ไม่เพียรเพ่ง
ตี(ระฆัง)กัน
เหมือนบรรเลง...................เพลงเสนาะ เคาะประโคม
๏ การทำ
วัตรเช้า-เย็น...........................ที่มุ่งเน้น เช่นกิจโหม
ปลูกฝัง
ทั้งพระ-โยม............................มิปรากฏ ในบทธรรม(วินัย)
๏ ที่นั่ง
ที่นอนสงัด................................หลักปฏิบัติ (พุทธ)โอวาทย้ำ
มีใคร สนใจจำ?..................................สำคัญความ สมถะ(สมถะ=ความสงบจิต,ความมักน้อย)
๏ วัดส่ง
เสียงดังลั่น..............................คนพากัน เข้าข้างพระ
ผับบาร์
ทำบ้างล่ะ?.............................(คน)เห็นใจพระ ถูกระราน
๏ สังคม
อุดมเขลา................................ความมัวเมา คือสัณฐาน(สัณฐาน=ลักษณะ)
ขาด
วิ จารณญาณ..............................อันธพาล มานมืดมนฯ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๑
*โอวาทปาฏิโมกข์(แปล)
* สพฺพปาปสฺสอกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทธาน สาสนํฯ
* ขนฺตี
ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ
ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ
ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ
โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
*
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา
จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต
จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑
การบำเพ็ญแต่ความดี
๑
การทำจิตของตนให้ผ่องใส
๑
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขันติ
คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า
นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายคนอื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนคนอื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่กล่าวร้าย ๑
การไม่ทำร้าย ๑
ความสำรวมในปาฏิโมกข์
๑
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑
ที่นั่งนอนอันสงัด
๑
ความเพียรในอธิจิต
๑
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น