อาชีพพระ : กลอนคติเตือนใจ
๏ ทำอา
ชีพพระ...........................พึ่งเพศ สมณะ หาทรัพย์สิน
มากมาย
ในแผ่นดิน.......................เกาะกิน กับความ ศรัทธา(พุทธศาสนา)
๏ (รับจ้าง)ประกอบ พิธีกรรม............ผิดศีล
ผิดธรรม ตาม(พุทธ)ศาสนา
ไสยศาสตร์
อัชฌา........................เพลิดเพลิน เงินตรา หลอกลวง
๏ พระพี
กิเลส..............................ปฏิเสธ สละ ตัณหาห้วง
กามคุณ
หนุนทรวง........................ตักตวง บริโภค อกเอม
๏ ตะกลาม ตะกละ.........................ลาภ
สักการะ เขษม
โลกีย์
ปรีดิ์เปรม............................ไม่เคย เต็ม-อิ่ม ปริ่มใจ
๏ สำรอก บอกธรรม.......................จากจิต
ติดต่ำ ทรามใต้
หลอกได้
แต่ใคร...........................ผู้ไม่ ศึกษา สัทธรรม
๏ มิเคย
ปฏิบัติ..............................ถนัด มารยา พาทีย้ำ
ประพฤติ
ยึดทำ.............................เสพติด กิจกรรม คนธรรมดา
๏ สอนความ สันโดษ......................แต่โปรด
(ความ)เป็นอยู่ หรูหรา
ขายบุญ
คุ้นอุรา.............................(อ้าง)บำรุง ศาสนา ว่าดี
๏ (เรี่ยไร)เงินเขา
เอา(มา)ใช้............ทำให้ ตนอยู่ สุขี
รับตังค์
(ไว้จน)มั่งมี........................คือวิ ถีพุทธ อุจาดเอยฯ
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑
*วินัยปิฎก เรื่องพุทธบัญญัติ ข้อห้ามพระ-สงฆ์
รับ-เก็บรักษาเงิน หรือยินดีในเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตัวเอง
จาก พระไตรปิฎก
เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒
มหาวิภังค์ ภาค ๒
๒.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
From
<http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=2567&Z=2684>
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละรูปิยะนั้น
อย่างนี้:-
วิธีเสียสละรูปิยะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า
นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว. ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า
สละรูปิยะนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ, ถ้าคนผู้ทำการวัด
หรืออุบาสก เดินมาในสถานที่เสียสละนั้น พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้, ถ้าเขาถามว่า
จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา. ควรบอกแต่ของ
ที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย, ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะ
มาถวาย เว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ, ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป, ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี; ถ้าไม่ได้,
พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของนี้, ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี; ถ้าเขาไม่ทิ้งให้, พึงสมมติภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.
นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว. ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า
สละรูปิยะนี้แก่สงฆ์.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ, ถ้าคนผู้ทำการวัด
หรืออุบาสก เดินมาในสถานที่เสียสละนั้น พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้, ถ้าเขาถามว่า
จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา. ควรบอกแต่ของ
ที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย, ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะ
มาถวาย เว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ, ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป, ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี; ถ้าไม่ได้,
พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของนี้, ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี; ถ้าเขาไม่ทิ้งให้, พึงสมมติภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.
องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
องค์ ๕ นั้น คือ ๑ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ, ๒
ไม่ถึงความลำเอียงเพราะ
เกลียดชัง, ๓ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย ๔ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว; และ ๕ รู้จักว่าทำ
อย่างไรเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-
เกลียดชัง, ๓ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย ๔ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว; และ ๕ รู้จักว่าทำ
อย่างไรเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-
วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน, ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด
ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบ
ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คำสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า.
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว,
สงฆ์พึงสมมติ
ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ, การสมมติ
ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ, ชอบแก่ท่านผู้ใด; ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง. ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์. เหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก, ถ้าทิ้งหมายที่ตก, ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ, การสมมติ
ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ, ชอบแก่ท่านผู้ใด; ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง. ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์. เหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก, ถ้าทิ้งหมายที่ตก, ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น