ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ความเชื่อกับความยุติธรรม : กาพย์สุรางคนางค์๒๘



ความเชื่อกับความยุติธรรม : กาพย์สุรางคนางค์๒๘

๏    ......................................ความเชื่อ ของใคร
มิอาจ เปลี่ยนให้....................กลายเท็จ เป็นจริง
แลความ ไม่เชื่อ....................(ก็)ไม่เหนือ สัจสิ่ง
สิ่งที่ เป็นจริง........................(ย่อมจะ)จริงไม่ เปลี่ยนแปลง

๏    .......................................การพิ พากษา
ของคน มารยา.......................มักจะ แอบแฝง
มิจฉา ทิฐิ.............................อคติ เคลือบแคลง
อุปโลกน์ ตกแต่ง...................กลั่นแกล้ง การไกร

๏    .......................................คนพิ พากษา
เคารพ กติกา.........................สัตยา เสมอไม่
(บ้าง)กระทำ ลำเอียง..............หลีกเลี่ยง(กฎหมาย) ตามใจ
หยาบช้า สาไถย....................ไร้ศีล (ละ)ธรรม

๏    .......................................เหมือนเป็น ธรรมดา
คู่กาล เวลา...........................โลกา ระส่ำ
คนพิ พากษา.........................ที่ มนา ระยำ
สร้างความ ระกำ.....................เกิดทุก สังคม

๏    .......................................ยิ่งด้อย พัฒนา
ยิ่งประ จักษ์ตา.......................ชั่วช้า สะสม
ระบบ ยุติธรรม........................ต่ำเตี้ย โสมม
ยิ่งกว่า อาจม..........................อุดม เดนชน

๏    ........................................ส่งไป ศึกษา
อบรม ศาสนา.........................ก็หา เป็นผล
เมื่อ(ใจ)ไร้ ศีลธรรม.................ประจำ กระมล
ความคิด จิตจล.......................แต่อกุศล บาปกรรม

๏    ........................................เชื่อ(หรือไม่เชื่อ)ใน หลักฐาน
วัตถุ-พยาน............................คือการ ตอกย้ำ
ว่าหลัก ตัดสิน........................ใช้จินต์ (หา)ใช่ศีลธรรม
(เพราะฉะนั้น)มิควร เชื่อคำ........ว่ายุ ติธรรมเลยฯ

๒๖  พฤษภาคม ๒๕๖๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น