ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สันโดษ ไม่ใช่ มักน้อย : กลอนคติธรรม


สันโดษ ไม่ใช่ มักน้อย : กลอนคติธรรม


    (ดูคลิป)ฟังพระ เทศนา สาธก...................................หยิบยก (กรณีวัด)ขาดแคลน ห้องน้ำ(ห้องส้วม)

ว่าคือ (ความ)สันโดษ* ; โปรดนำ..........................ไปเป็น หลักธรรม ค้ำชีวี


    ฟังแล้ว อ่อนเพลีย ระเหี่ยจิต....................................(พระ)หลงผิด คิดเห็น เช่นนี้

มากมาย ก่ายกอง นองมี......................................จนเป็น วิถี พุทธ(แบบ)ไทย(ๆ)


    ห้องส้วม ห้องน้ำ (คือสิ่ง)จำเป็น...............................งดเว้น เร้นธุระ หาควรไม่

(ชีวิตคน)ปกติ ต้องมี ต้องใช้.................................(ความคิด)ไม่พอ(ใช้) ก็พอใจ (ช่าง)ไม่เข้าที

 

    เงินหา สามารถ สร้างทำ..........................................ห้องน้ำ(ห้องส้วม) กำจัด บัดสี

ควรสร้าง ให้พอ อย่ารอรี.......................................(อยู่)อย่างมี สติ ปัญญา


    สันโดษ โปรดใช้ ให้สมเหตุ.....................................ก่อนเทศน์ ต้องตรึก ศึกษา

พูดตาม อำเภอใจ ไม่นำพา....................................จะถูก ครหา ว่าโง่งม

 

    (การ)ทนอยู่ (อย่าง)อัตคัด ขาดแคลน.......................ยากแค้น ชีวี มิเหมาะสม(ผิดหลักพุทธธรรม)

อย่าได้ ยินดี นิยม.................................................(จง)มุ่งสู่ ความอุดม สมบูรณ์**

 

    อุตส่าห์ หากิน หาใช้...............................................ออม(เงิน)ไว้ ให้มาก อดอยากสูญ

(ฐานะ)มั่นคง ส่งเสริม เพิ่มพูน................................เกื้อกูล สุจริต กิจกรรม


    ทรัพย์เหลือ เผื่อแผ่ แก่ชน.......................................ผู้คน ทุกข์ยาก อุปถัมภ์

สร้างบุญ สุนทาน อันชอบธรรม..............................ถูกต้อง คลองธรรม ดำเนินฯ


๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔


*สันโดษ บาลีหมายถึง ความพอใจในสิ่งที่มี-พอใจเท่าที่หาได้(พยายามแล้ว ได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น)

แต่คนไทยมักใช้ในความหมายว่า ความมักน้อย(ไม่หา-ไม่ทำ),อยู่ตามลำพัง(คนละเรื่องเลย)

เหมือนคำว่า สมถะ คนไทยก็ใช้ในความหมายว่า มักน้อย

แต่ภาษาบาลี ไม่ใช่

สมถะ ไม่ได้แปลว่ามักน้อย อ่านว่า สะ-มะ-ถะ

“สมถะ” บาลีเขียน “สมถ” (สะ-มะ-ถะ) รากศัพท์มาจาก สมฺ (ธาตุ = สงบ, ระงับ) + ถ ปัจจัย

: สมฺ + ถ = สมถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมที่ยังความพอใจในกามให้สงบ”.


**หมายถึงฆราวาส ไม่ใช่พระภิกษุ

พระภิกษุต้อง "สมถะ มักน้อย " อย่าอยู่อย่างหรูหรา อย่าสะสมทรัพย์สิน อย่ากิน-ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๑. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี
๑. กันทรกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อกันทรกะ

...‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทางมาแห่งธุลี การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง 

การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย 

ทางที่ดีเราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’

ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต 
เขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๒- ของภิกษุทั้งหลาย คือ
                          ๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความ
                               ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
                          ๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ รับเอาแต่
                               ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
                          ๓. ละ พฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์๓-
                               เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๔- อันเป็นกิจของชาวบ้าน
                          ๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์
                               มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
                          ๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไป
                               บอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความจากฝ่ายโน้นแล้วไม่มา
                               บอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่
                               ปรองดองกัน ชื่นชมยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำ
                               ที่สร้างสรรค์ความสามัคคี 
                          ๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก                               
จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ                          
                          ๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง                               
                              ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง
                               มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
                          ๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม
                          ๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล
                          ๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นที่
                                 เป็นข้าศึกแก่กุศล
                          ๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้
                                 ของหอมและเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
                          ๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
                          ๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
                          ๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ 
                          ๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
                          ๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
                          ๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
                          ๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
                          ๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
                          ๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
                          ๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่ นาและที่ดิน
                          ๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
                          ๒๓. เว้นขาดจากการซื้อการขาย
                          ๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด
                          ๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
                          ๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การ
                                 ปล้น และการขู่กรรโชก
             ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป
ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันที นกบินไป ณ ที่ใดๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง
จะไป ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันที ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์นี้แล้ว ย่อมเสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน...."

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น