ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561

คู่ควรแก่การไหว้ : กลอนคติเตือนใจ




คู่ควรแก่การไหว้ : กลอนคติเตือนใจ

    นักเรียนน้อย ร้อยรวง พวงมาลัย......................ส่งครู ;ใย ถ่าย-โพสต์ โจษชั่วช้า?
ประจานเด็ก เสกสรร พรรณนา...........................ด้วยวาจา ด่าทอ หนอคุณคู(ไม่ใช่ครู)

    พวงมาลัย พรายพร้อย ร้อยประดิษฐ์.................ฝีมือศิษย์ คิดทำ ตามที่รู้
เพราะขาดความ ชำนาญ พิจารณ์-ดู....................จะอยู่ๆ ร้อยสวยได้ อย่างไรกัน?

    (ธรรมดา)เด็กบางคน ก็เก่งกล้า เฉลียวฉลาด......ความสามารถ ฝีมือ คือพรสวรรค์
ความถนัด ตัดสิน ชีวินดัน.................................สู่อาชีพ ตีบตัน หรือพรรณราย

    (เรื่องนี้)ทำให้รู้ ครูเป็น เช่นปีศาจ.....................จรรยาบรรณ ถึงขั้นขาด อุบาทว์หลาย
บุคลิกภาพ ทางอารมณ์ มิสมชาย.......................ถ่อยสถุล วุ่นวาย ร้ายฤดี

    ใครได้เรียน กับครู เอ็นดูศิษย์..........................คือวาสนา ชีวิต พิสิฐศรี
ส่วนใครเรียน กับครู ผู้อัปรีย์..............................คงจะมี เวรกรรม ตามประจญ

    เห็นข่าวชั่ว ของครู อยู่ร่ำไป............................(จึงรู้เหตุผล)การศึกษา ของไทย จึงไร้ผล
ใครไม่มี "ครุธรรม" ค้ำกระมล............................ไม่ใช่คน ควรสอน ป้อนวิทยา

    เด็กเบื่อการ เล่าเรียน เพียรใฝ่รู้........................ส่วนหนึ่งเพราะ พวกครู ผู้(เป็น)ปัญหา
คิดแค่เรื่อง ผลประโยชน์ตน ปรนอัตตา................มิใส่ใจ ไม่ศรัทธา จรรยาบรรณ

    ครูที่มี ศีลธรรม กำกับจิต................................จะต้องคิด สอนศิษย์อย่าง ผู้สร้างสรรค์
นักเรียนไทย ไหว้ครู อยู่ทุกวัน...........................ครูต้องมี จริยธรรม์ (คู่)ควรกันเอยฯ

๖ กันยายน ๒๕๖๑

*ครู มีรากศัพท์เป็นภาษาบาลี ครุ (คะรุ) แปลว่าหนักแน่น
มาจากภาษาสันสกฤตคุรุ (คุ-รุ) แปลว่า ผู้ชี้แสงสว่าง
ครู ตามพจนานุกรรมราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ผู้สั่งสอนศิษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น