ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หัวหน้าพระ : โคลงสี่สุภาพ



หัวหน้าพระ : โคลงสี่สุภาพ

๑. เมื่อคนเป็นหัวหน้า.....................สามานย์
หมู่สมุนบริวาร............................(ย่อม)ชั่วช้า
เมื่อเชิดชูอันธพาล.......................เป็นใหญ่
คนดีไหน(จะมา)คบค้า?................คงเฝ้าเหยียดหยามฯ

๒. หลักธรรมการแต่งตั้ง..................(พระ)เถระ
มีพุทธวจนะ................................บ่งชี้
เรียกว่า " เถระธรรมะ "..................บัญญัติ
สัทธรรม ๑๐ ข้อนี้.........................เผยผู้อาวุโสฯ

๓. หลักโบราณ บัดนี้........................ละเลย
พระใหญ่ใจเฉยเมย........................ทอดทิ้ง
กิจวัตรเด่นชัดเชย..........................สิ่งสวะ
ส่วนใหญ่จะกลอกกลิ้ง....................ต่ำช้าศีลธรรมฯ

. คำน่าเลื่อมใสสร้าง.......................ลวงชน
หวังลาภสักการผล.........................โลภเรื้อ
ก่อแต่ความโฉดฉล.........................ชิดต่ำ
โลกียกรรมส่ำเฟื้อ...........................ถ่อยแท้ทรชนฯ

. บางคนกระทั่งกล้า.........................ขวนขวาย
ทำสิ่งผิดกฎหมาย............................เถื่อนท้า
เฉกอันธพาลแพร่หลาย.....................ทุจริต
คิดแผนแสนชั่วช้า............................น่าเนื้อใจเสือฯ(น่า=หน้า)

๖.ไม่เหลือความเชื่อให้.......................ศรัทธา
เพราะความมีมารยา..........................ปล้อนปลิ้น
อาศัยพุทธศาสนา.............................แฝงแอบ
สองแฉกคอยแลบลิ้น.........................ไขว่คว้าหากินฯ

. ยึดคุณสมบัติผู้...............................นำสงฆ์
อย่ายกพาลเภทหลง...........................แต่งตั้ง
หากปรารถนาธำรง.............................พุทธศาสน์
ผิดพลาดประมาทพลั้ง.........................ชาติสิ้นศีลธรรมฯ

๔ สิงหาคม ๒๕๕๙

เถรธรรม 10
       1. เถโร รัตตัญญู (เป็นผู้ใหญ่ บวชนาน รู้เห็นกิจการ ทรงจำเรื่องราวไว้ได้มาก)
       2. สีลวา (มีศีล เคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย)
       3. พหุสสุโต (เป็นพหูสูตทรงความรู้)
       4. สวาคตปาฏิโมกโข (ทรงปาติโมกข์ รู้หลักแห่งวินัย แคล่วคล่อง ชำนิชำนาญ สามารถวินิจฉัยได้ด้วยดี)
       5. อธิกรณสมุปปาทวูปสมกุสโล (ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น)
       6. ธัมมกาโม (เป็นผู้ใคร่ธรรม รักความรู้ รักความจริง รู้จักรับฟังและรู้จักพูดทำให้เป็นที่ชื่นชมสนิทสนมสบายใจ น่าเข้าไปปรึกษาสนทนา และชอบศึกษา ยินดีปรีดาในหลักธรรมหลักวินัยที่ยิ่งๆ ขึ้นไป)
       7. สันตุฏโฐ (เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยสี่ตามมีตามได้)
       8. ปาสาทิโก (จะไปจะมา มีอาการกิริยาน่าเลื่อมใส แม้เข้าไปในละแวกบ้าน ก็สำรวมเป็นอันดี)
       9. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน 4 ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน)
       10. อนาสวเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ (บรรลุเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ สิ้นอาสวะ )
องฺ.ทสก. 24/98/215.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น