ปฏิบัติธรรม : กลอนคติสอนใจ
๏ บุคคล
ควรตาม รักษาจิต.................................ควบคุม ความคิด (ให้)เป็นกุศล
คือหลัก(ที่)
พุทธศา สนิกชน.............................(เพียร)ฝึกฝน ปฏิบัติ ด้วยศรัทธา
๏ ศึกษา(ว่า)
อะไรดี-อะไรชั่ว..............................คือหัว ใจให้ ไม่มิจฉา
รู้หลัก
ธรรมชาติ และสัจจา................................(เป็น)พื้นฐาน ปัญญา ประกอบกรรม
๏ มีเหตุ
มีผล บนความเชื่อ.................................ไม่เบื้อ งมงาย ไถยถลำ
วิเคราะห์
วิจารณ์ หาญกระทำ.............................ขจัดส่ำ สงสัย ไม่เหลือมี
๏ กระทำ
กรรมใด ไม่ประมาท.............................อุระ สะอาด พ้นบัดสี
อย่าอ้าง
วัฒนธรรม ประเพณี..............................โดยที่ โง่เขลา มิเข้าใจ
๏ ถูก-ผิด
วินิจฉัย ไม่อคติ..................................ขัดเกลา ทิฏฐิ ดัดนิสัย
มิเมา (ทำ)เอาตาม อำเภอใจ..............................(เอา)ใจใส่ สำนึก ตรึกตรองธรรม
๏ วิถี
ชีวะ ประจำวัน..........................................สอดรับ หลักธรรม์
จรรย์จุนค้ำ
ไม่ใช่
สวดมนต์ บ่นท่องจำ.................................แต่การ กระทำ มินำพา
๏ เมื่อจิต
ตั้งมั่น มิหวั่นไหว(ในกุศล).....................มีสติ วินัย(ไม่ก่ออกุศล)
ไร้ปัญหา
นั่งสมาธิ
ทำไม ให้เสียเวลา*................................โดยเฉพาะ อ้างว่า
จะได้บุญ(เหมือนนั่งเติมบุญ ซึ่งไร้สาระ)
๏ กิเลส
ตัณหา อุตส่าห์ลด.................................ทุจริต จิตคด ขจัดสุญ
ทุกลม หายใจ ใคร่เจือจุน...................................พิบุล พิพัฒน์
ปฏิบัติ(ธรรม)เทอญฯ(พิบุล=กว้างขวาง)
๔ เมษายน ๒๕๖๒
*เพราะการนั่งสมาธิที่เห็นเป็นส่วนใหญ่ จะทำพอเป็นพิธีและหลงเชือกันว่านั่งสมาธิแล้วได้บุญเพิ่มขึ้นๆ เหมือนชาร์ตแบ็ตฯมือถือฯลฯ
ผู้เขียนขอจำกัดความหมายของการนั่งสมาธิที่เสียเวลาในกลอนบทนี้ ไว้เท่านี้
ไม่นับรวมถึงการนั่งสมาธิตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามหลักไตรสิกขา
*เพราะการนั่งสมาธิที่เห็นเป็นส่วนใหญ่ จะทำพอเป็นพิธีและหลงเชือกันว่านั่งสมาธิแล้วได้บุญเพิ่มขึ้นๆ เหมือนชาร์ตแบ็ตฯมือถือฯลฯ
ผู้เขียนขอจำกัดความหมายของการนั่งสมาธิที่เสียเวลาในกลอนบทนี้ ไว้เท่านี้
ไม่นับรวมถึงการนั่งสมาธิตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามหลักไตรสิกขา
*นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง
ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น
จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกามคุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมงยกขึ้นแล้วจากที่อยู่คือน้ำ โยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น
จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกามคุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมงยกขึ้นแล้วจากที่อยู่คือน้ำ โยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น
การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว
มีปรกติตกไปในอารมณ์อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี
เพราะว่าจิตที่บุคคลฝึกดีแล้วนำสุขมาให้
นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อน
มีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคลคุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
จาก
<http://www.84000.org/tipitaka/read/?25/13>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น