พุทธศาสนาไม่ได้มีไว้ใช้หาความสุข
: กลอนคติเตือนใจ
๏ ถึงเทศกาล
วันใด หากไปวัด..............................................ต้นผ้าป่า ฯลฯ
สารพัด ปัจจัย(เงิน)หา
ป่าวประกาศ
ประโยชน์ โฆษณา........................................อ้างพุทธ(ธะ) ศาสนา
(เชิญ)มาทำบุญ
๏ นิยมนัก
ปิดทอง ลูกนิมิต(และพระพุทธรูป)............................ทองคำ(เปลวปลอม)ขาย
ใช้ปิด คิดสถุล
(ช่อ)ดอกไม้เวียน
วนขายใหม่ ไร้การุญ...............................ทำธุรกิจ ลงทุน หมกมุ่นใจ
๏ มีแค่คน
โง่เขลา
เบาปัญญา................................................วัด(ทำการ)ขายค้า
พาณิชย์ จึงพิสมัย
ลูกนิมิต
ผลิตจากปูน(หรือหิน) มีคุณใด?..............................ฝังไว้ใต้ โบสถ์วิหาร
บันดาลดี?
๏ นับวันยิ่ง
งมงาย ไสยศาสตร์...............................................บุคลากร คุณภาพขาด
ชาติวิถี
พระต้อง(ลงทุน)จ้าง
มหรสพ วงดนตรีฯลฯ..........................เพื่อล่อใจ ให้คนปรี่ บริจาคเงิน
๏ กายล่วงล้ำ
ธรรมวินัย ไม่ปฏิบัติ...........................................ปากเทศนา ข้อวัตร
มิขัดเขิน
อาชีพพระ
สุขสบาย ได้เพลิดเพลิน....................................กับลาภ-ยศ-สรรเสริญ
เหินห่างธรรม(วินัย)
๏ (ที่จริง)ไม่ได้มี
พุทธศาสนา เพื่อ(ใช้)หา(ความ)สุข..................แต่(เพื่อ)พ้นทุกข์ ถูกทาง (แตก)ต่างเลิศล้ำ
ลาภ-ยศ-สรรเสริญหา=อกุศลกรรม....................................โลกธรรม
ทั้งหลาย (มิ)ใช่ปลายทาง(ของพุทธศาสนา)
๏ วัดเข้าไป
ตั้งในป่า ก็หาเงิน................................................สารพัด
วัตถุเกิน เพลิดเพลินสร้าง
ลาภ-ยศ-สรรเสริญบ้า
มิละวาง..........................................(ความ)คิดไม่ต่าง ฆราวาส
พิศวาสกาม
๏ พุทธศาสนา
ถูกใช้ไป ในทางผิด.........................................ศาสนา พาณิชย์
ผลิต(แพร่)หลาม
วัดสร้างภาพ
ลวงหลอก ล้วนงอกงาม..................................ได้รับความ นิยม (เพราะคน)งมงายเอยฯ
๑๔ เมษายน ๒๕๖๒
*ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 หรือ
หลักกำหนดธรรมวินัย 8
1.
วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด, ความไม่ติดพัน เป็นอิสระ มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ,
การเสริมความติด
2.
วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด, ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัด
หรือประกอบทุกข์
3.
อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส
4.
อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย, ความมักน้อย มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่,
ความมักใหญ่ หรือมักมากอยากใหญ่
5.
สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ
6.
ปวิเวก คือ ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่
7.
วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน
8. สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย
มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก
*ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แม่ม้าอัสดรย่อมตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตน ย่อมตั้งครรภ์เพื่อความวอดวาย แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาภสักการะและความสรรเสริญก็เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน
ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัต
เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น