ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ทำอะไรในวันพระ? : กลอนวันพระ



ทำอะไรในวันพระ? : กลอนวันพระ

    ทำอะไร ในวันพระ?.............................จงลดละ อกุศล
ความเมามัว หลงตัวตน.............................ขัดเกลาจน จางจากจร

    ปวงตัณหา เมื่อละลด...........................จะปรากฏ หมดเร่าร้อน
เห็นความงาม ความสุนทร.........................แจ่มขจร สะท้อนชีวี

    ปราบกิเลส เป็นเศษผง.........................เจตจำนง ตรงแน่วนี้
บริสุทธิ์ ผุดผ่องฤดี...................................บรรเจิดมี สิริมงคล

    บาปไม่ทำ สร้างสำนึก..........................หยั่งรากลึก ปึกแผ่นผล
เวรกรรมไร้ ไม่มาผจญ...............................เท่ากับพ้น ทุกข์ทั้งมวล

    แค่คิดใคร่ ใส่บาตรพระ.........................รับศีล-พระ ให้พรล้วน
(เป็น)วัฒนธรรม งามกระบวน......................เพื่อคู่ควร พุทธศาสนิกชน

    ฟังเทศนา-นั่งสมาธิ.............................ทำตามพิ ธีกรรมหน
สวมชุดขาว เข้าวัดวน................................หามีผล แก่คนใด

    ตราบที่ใจ ไม่สาบสูญ..........................อกุศลมูล ต้น(เหตุ)สาไถย
ย่อมมีเหตุ มีปัจจัย....................................ทำบาปได้ ไม่เว้นวาง

    เวียนเทียนธูป ประทักษิณ....................แต่ไม่สิ้น ตัณหาสาง
ต่างอันใด (กับ)ไฟไหม้ฟาง.......................บุญที่สร้าง เบาบางเอยฯ

๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

*พิธีเวียนเทียน ของชาวพุทธ ไม่มีการปฏิบัติในสมัยพุทธกาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น