เสรีภาพทางเพศสัมพันธ์ : กาพย์ยานี๑๑
๏ ลูกอม
ให้รสหวาน..........................แต่ถ้าทาน ย่อมฟันผุ
ผู้ใหญ่
ใจบรรลุ................................เท่าทันรู้ ถึงทุรผล
๏ หากแต่
เด็กแส่หรรษ์......................มิคิดหวั่น ฟันของตน
จะผุ
จะทุกข์ทน...............................ทรมานจน (ถึง)อนาคต
๏ ความดื้อ
ไม่เชื่อฟัง.........................คำสอนสั่ง สร้างความสลด
เด็กหลาย
ได้รันทด...........................ชีวิตหมด สิ้นความหวัง
๏ ประเด็น
เพศสัมพันธ์........................(ใน)วัยเรียนนั้น (กำลัง)เป็นข่าวดัง
วัยรุ่น
ต่อต้านจัง................................(ที่)รัฐบาลตั้ง(หน้า) ตรากฎหมาย
๏ ห้าม(นักเรียน,นศ.)มี
เพศสัมพันธ์........บังคับกัน เหมือนอันตราย
นักศึกษา
มาถือป้าย............................ประท้วง"ไร้ อิสระ(และเสรีภาพ)"
๏ ผู้ใหญ่
ใช้โซเชี่ยล............................ต่างติเตียน (วัยเรียน)ต้องวิริยะ
(การ)ศึกษา
อุตสาหะ...........................มิใช่มา ราคะหลง
๏ ยัง(แบมือ)ขอ
เงินพ่อแม่....................อย่าริแส่ (ผสมพันธุ์)สืบเผ่าพงศ์
ราคะ
ต้องละปลง................................ประสงค์สรรพ สนับสนุน(ออกกฎหมาย)
๏ ต่างฝ่าย
ต่างต่อว่า............................(อีกฝ่าย)เป็น(กบใน)กะลา โง่(เง่า)เต่าตุ่น
ชั่ว-ดี
มีโทษ-คุณ................................วุ่นวายจน มิสนใจฯ
๒๓ สิงหาคม
๒๕๖๑
*อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
เนื่องจากมาตรา 64
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 บัญญัติให้นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อเป็นการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาให้มีความเหมาะสม
มีความรับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา
จึงได้มีกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 มีผลใช้บังคับ
ต่อมา ศธ.
ได้ดำเนินการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย ตามพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2548
เห็นสมควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคม
และคำนึงถึงความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ทั้งนี้
ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียด้วยแล้ว
ประกอบกับคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2561 วันที่ 9
เมษายน 2561 มีมติเห็นชอบด้วยกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา
พ.ศ. 2548 เกี่ยวกับลักษณะความประพฤติต้องห้ามของนักเรียนและนักศึกษา ดังนี้
1. กำหนดเพิ่มเติมห้ามการรวมกลุ่ม มั่วสุม อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.
แก้ไขลักษณะความประพฤติที่ห้ามกระทำเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวอันไม่เหมาะสมจากเดิมที่ห้ามเฉพาะการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ
เป็นการห้ามไม่จำกัดสถานที่ โดยตัดคำว่า “ในที่สาธารณะ” ออก และกำหนดเพิ่มเติมห้ามกระทำการลามกอนาจารด้วย
3.
แก้ไขลักษณะความประพฤติที่ห้ามกระทำเกี่ยวกับการออกนอกสถานที่พัก เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่มอันเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
จากเดิมห้ามเฉพาะเวลากลางคืน เป็นการห้ามไม่จำกัดเวลาโดยตัดคำว่า “เวลากลางคืน” ออก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น