ยินดีต้อนรับ อาคันตุกะ ทุกท่าน

สมัคร Blogger.com ตั้งแต่ยังเป็นเว็ปอิสระ ต้องสร้างรหัสผ่าน แต่ตอนนั้นเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์จึงทำผิดพลาดตอนสร้างรหัส ทำให้บล็อก avijjabhikkhu เข้าไม่ได้ ต้องสร้างบล็อกใหม่ใช้ชื่อใหม่ จากคำว่า bhikkhu เป็น pikkhu แทน
ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา-ข้อมูล-สติปัญญา-ความรู้ความสามารถ-ความรีบเร่ง ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำเพื่อการแก้ไขความผิดพลาด ผู้เขียนไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการคัดลอก การนำไปเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ขอเพียงแต่อย่าแอบอ้างว่าเป็นผลงานของผู้อื่น แต่ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ในผลงานนี้ สำหรับการนำไปเผยแพร่เพื่อการค้าหากำไร
*นักเรียน อย่าลอกเป็นการบ้านไปส่งครูนะครับ เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ความสามารถ ดูไว้เป็นตัวอย่างก็พอ
มีอะไรสงสัย ไม่เข้าใจ ต้องการคำอธิบาย ก็ถามมาได้

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อย่าเอาแต่ใจตน : กลอนเจ็ด



อย่าเอาแต่ใจตน : กลอนเจ็ด

๏   (รู้สึก)เวลา บางวัน ผ่านไปช้า.................เวลา บางวัน ผ่านไวแสน
เวลา แต่ละวัน ฤามั่นแม่น.......................เร็ว-ช้า ชั่วแล่น มิเท่ากัน?

๏   นาฬิกา ในใจ ไม่เที่ยงหรอก...................กลับกลอก รวนแล แปรเปลี่ยนผัน
ตามความ วุ่นว้า แต่ละวัน.......................(และ)ความขัน-คะนอง ของอารมณ์

๏   การทำ ตามใจ จึงให้โทษ......................มากกว่า ประโยชน์ โปรดยลสม
แต่คน ส่วนใหญ่ ในสังคม.......................นิยม ทำตาม อำเภอใจ

๏   เมื่อสม อุรา ร่าเริงส้อง...........................เมื่อมิ สมปอง ร่ำร้องไห้
คือปฏิ กิริยา ประจำใน...........................เด็กวัย ทารก ปกติเป็น

๏   สังเกต สังกา ว่าเติบโต..........................ก็ยัง พาโล โมหะเห็น
ชอบเอา ใจตน ยลกฎเกณฑ์....................ต่างคน ต่างเข็น มิเว้นวาง

๏   ทำให้ โลกา โกลาหล............................ประจญ เภทภัย ไปต่างๆ
สิ่งที่ (ตน)ชอบใจ ใครขัดขวาง.................ก็ทำ ลายล้าง สร้างอาชญา

๏   ฆ่าฟัน กันตาย ไร้วิตก............................เหตุการณ์ ปกติ มีทั่วหล้า
สงคราม เกิดวอด ตลอดเวลา....................ทำลาย ชีวา ทรัพยากร

๏   มิเอา ใจตน เป็นที่ตั้ง.............................จึงบัง เกิดสุข สโมสร
ศีลธรรม นำหน้า สถาพร...........................คลายร้อน ผ่อนเข็ญ เย็นอยู่เอยฯ

๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น